ทุกท่านมีโอกาสร่วมสร้าง

ทุกท่านมีโอกาสร่วมสร้าง

ร่วมกด Like แชร์ข้อมูล เจดีย์กำลังก่อสร้าง ทุกท่านมีโอกาสร่วมสร้าง


วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

เรื่อง อุบายวิธีสร้างสติให้เข้มแข็ง

พระธรรมเทศนา

เรื่อง  อุบายวิธีสร้างสติให้เข้มแข็ง


        ทีนี้ก็พวกเราก็มากันหลายบ้านหลายเมือง  หลายตำแหน่งหลายหน้าที่หลายอาชีพ  พูดถึงส่วนใหญ่ของพวกเราก็อยากจะบำเพ็ญตนให้เป็นไปตามจุดที่ถูกที่ควร ซึ่งเป็นสายทางของพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นประธานที่ท่านดำเนินไปแล้ว พวกเราอยากจะเจริญรอยตามยุคลบาทของท่าน แต่พูดถึงนโยบายการดำเนินทางด้านสมาธิจิตนี้ บรรดาแต่ละครูบาอาจารย์ก็ไม่สู้จะเหมือนกันนัก ถึงแม้จะเหมือนกันเป็นบางอย่าง แต่อีกบางอย่างก็ไม่เหมือนกัน ในยุคสมัยที่อาตมาอยู่กับท่านอาจารย์ใหญ่ มั่น ภูริทัตตเถรนี้ ได้เคยสังเกตพระเณร ซึ่งมีความเห็นดูเหมือนจะแยกออกเป็น ๒พวก พวกหนึ่งมีความเห็นในปฏิปทาของท่านอาจารย์มั่นนี่ หนักไปในทางอุบายที่จะสร้างกำลังมาเพื่อจะปรับปรุงตัวของตัวเอง ให้เป็นไปในรูปที่ควรให้เหมาะสมกับเราผู้เป็นลูกศิษย์ของพระตถาคต และก็อีกบางพวกต้องการไปในทางอภิญญาณสมาบัติ หรือต้องการในรูปของความสุขในด้านสมาธิ อะไรในทำนองนี้ เพราะฉะนั้น จึงแยกออกเป็น ๒ พวก พวกที่ต้องการจะเอาคุณธรรมที่บำเพ็ญได้ มาเพื่อปรับปรุงตัวของตัวเอง มองเห็นได้ว่ารู้สึกละม่อมละไมน่าเลื่อมใส แล้วก็อีกพวกหนึ่งทีต้องการอยากจะเห็นผี เห็นเทวดา ให้เกิดญาณต่าง ๆ อตีตังสญาณ ญาณที่เป็นไปทางด้านอดีตความเป็นมาของโลกเป็นมาอย่างไรบ้าง  อยากจะรู้อยากจะเห็น  อนาคตังสญาณ ส่วนอนาคตที่ยังไม่มาถึง ก็อยากจะพยากรณ์ให้ถูก หรือบางพวกนั่งเพื่อต้องการเอาความสุขเป็นผลของสมาธิชั่วคราว อะไรเหล่านี้ เป็นต้น เท่าที่สังเกตกิริยาแสดงออกพวกนี้รู้สึกผาดโผน ไม่ค่อยคำนึงถึงกิริยาอาการที่แสดงออก เพราะฉะนั้น แยกได้เป็น ๒ จำพวก เท่าที่สังเกตดู ทีนี้ส่วนอาตมาเองก็ได้ศึกษาอยู่ สำนักของท่านอาจารย์ แล้วก็ฟังอุบายวิธีของครูบาอาจารย์หลายท่านหลายองค์ที่แนะนำ ก็รู้สึกว่าเข้าใจผิดอยู่พักหนึ่ง ซึ่งอุบายที่อาตมาเดินในสมัยนั้น สงสัยจะเข้าในรูปลัทธิที่เรียกว่า ภวังคตาจิต เพราะตามรูปเท่าที่สังเกตดู บางท่านก็คงจะได้ทำเข้าสู่จุดนี้เหมือนกัน คือ ต้องการมุ่งจะให้มีสติ คุมความคิดของจิตว่าง่าย ๆ ไม่ให้จิตวอกแวกออกไปต่ออารมณ์สัญญา แต่ไม่มีอุบายที่จะสร้างปัญญา อุบายรู้ถึงจิตที่แลบไปต่ออารมณ์สัญญา  มันเป็นไปในรูปอย่างไรแล้วจะแก้ไขด้วยวิธีอย่างไร และสิ่งนั้นมันมีผลเป็นอย่างไรบ้าง ในอุบายวิธีที่จะดำเนินอย่างนี้ไม่มี เพียงแค่มีสติควบคุมความคิดของจิต ให้อยู่ กำลังความคิดของสติที่สร้างขึ้นมา นี่เป็นจุดมุ่งหมาย วิธีที่ทำก็รู้สึกว่าเหมือน ๆ อย่างครูบาอาจารย์ที่สอนทั่ว ๆ ไป บางองค์ก็มักจะสอนแบบใช้บริกรรมภาวนาแบบเดียว เช่น พุทโธธัมโม หรือสังโฆ หรือ จาโค หรือ ตาย ๆ อะไรก็แล้วแต่ หมายความว่า เราเอาคำบริกรรมอย่างไหนทำให้จิต องเราอยู่ก็เอาแบบนั้น วันนี้รู้สึกว่านึกถึงความตายเกี่ยวกับ มรณานุสสติ บริกรรมว่าตาย ๆ ๆ ทำให้จิตรวมได้ง่ายสะดวก แต่วันหลังอาจจะรวมไม่ได้เราก็เอาใหม่ พุทโธธัมโม หรือ สังโฆ อะไรอย่างนี้เป็นต้น เรียกว่าผู้มีบริกรรมภาวนาอย่างเดียว เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนียว อยากจะทราบว่า จิตจะเคลื่อนไปสู่อารมณ์สัญญาได้ไหมแล้วก็อุบายวิธีสร้างกำลังสติ ให้มีกำลังพอกับความต้องการ เพื่อที่จะครอบหรือบังคับความคิดของจิตนี่ให้อยู่ในอำนาจตัวบังคับ นี่จุดมุ่งหมาย  ทีนี้ทำกันอยู่ตั้งหลายปี พุทโธ ๆ อยู่นั่นแหละ ก็รู้สึกว่าเมื่อกำลังของสติแก่กล้าจริง ๆ เรื่องจิตที่จะเล็ดลอดไปต่ออารมณ์สัญญา ก็ไม่มีโอกาสที่จะไปได้เหมือนกัน ก็เป็นอันว่ากำลังตัวบังคับนี่ ดึงให้อยู่ในอำนาจของตัวอยู่ตลอดเวลา (ดึงให้อยู่ในอำนาจของกำลังตัวบังคับตลอดเวลา)  ผลที่สุดจิตมันจะจม  ดิ่ง ลงไปสู่ภวังคตาจิต คือว่าเข้าไปสู่สมาธิจิต  อันดับที่หนึ่งที่สองที่สาม คือตามลักษณะของความสงบนี้  นี่เล่าถึงสมาธิที่ผิดให้ฟังก่อน เพื่อจะเอาไปเปรียบเทียบกับสมาธิที่ถูก แล้วจะได้เอาไปดำเนินต่อไป  ทีนี้การสงบมันมีหลายแบบอย่าง บางทีเหมือนฟ้าผ่าเปรี้ยงลงมา กุฏิหักพับลงไปเลย อย่างนั้นก็มีบางทีก็เหมือนกระโดดลงไปในที่ลึก ๆ ลงไปก็มี บางครั้งบางคราวก็เหมือนเราลงลิฟต์ ยูบ ๆ ลงไป มีลักษณะที่เรียกว่า  น่ามีความสุข แต่ถ้าเราเข้าไปสู่จุดสมาธิที่หนึ่ง มันมีข้อสังเกตอยู่ รู้สึกมันมีความอิ่มเต็ม มันอิ่มในหน้าอกรู้สึกมันอิ่มในหน้าอก อิ่ม..ในหน้าอกและในหัวอก หัวใจ มันอิ่มอย่างไรชอบกล ๆ ความอิ่มอันนี้มันไม่ใช่ความอิ่มอย่างเดียว มันมีความสุขความสบายด้วย ผู้ที่ต้องการในผลสมาธิแค่นี้ ก็เข้าไปแช่เย็นฝัง ดื่มด่ำอยู่ในผลของสมาธิตลอดเวลา อันนี้เป็นผลของสมาธิอันดับที่หนึ่ง  ถ้าสามารถมีสติคุ้มครองจิต เข้าไปสู่สมาธิอันดับที่สอง ปรากฏว่ามัน เบา ลอย เหมือน ๆ กับเรานั่งบนอากาศ  แล้วก็รู้สึกเย็นในหน้าอกแผ่ว ๆ แหมรู้สึกว่ามีความสุขสบายจริง ๆ เราจะนั่งสมาธิทั้งวันทั้งคืนที่ไม่ต้องลุกก็ได้ หรือบางทีเหมือนๆจะนั่งสักอาทิตย์หนึ่ง ข้าวไม่ต้องฉันหรอก สุขสบายจริง ๆ เราจะนั่งสมาธิทั้งวันทั้งคืนไม่ต้องลุกก็ได้ ไม่ต้องเปลี่ยนอิริยาบถหรอกดูเหมือนจะเอาได้ เท่าที่สังเกตดูนะ ก็แปลกดีเหมือนกัน อันนี้เขาเรียกว่าอยู่ในอันดับสมาธิขั้นที่สอง ถ้าเข้าไปสู่อันดับสมาธิขั้นที่สาม จะรู้สึกว่ามีความเย็นซาบซ่าไปทั่วสรรพางค์กาย  และมีแสงสว่าง  โปร่ง โล่ง ไปหมด  ถึงแม้จะถอนสมาธิออกมาแล้ว ประสาทหรือสมองมันโปร่ง แหม..มองถึงอะไรต่ออะไรต่าง ๆ คล้าย ๆ มันเข้าใจถูกไปหมด มันโปร่งมันโล่ง เพราะฉะนั้น หลักสมาธิทั้ง ๓ ประการ หรือผลของสมาธิทั้งสามอย่าง ซึ่งเป็นผลของสมาธิแต่ละขั้น  ตามรูปดังกล่าวนี้ก็เรียกว่าผลของสมาธิที่เป็นไปในทางลัทธิภวังคตาจิต เท่าที่เคยสังเกตอยู่เป็นเวลาหลายปี ก็รู้สึกว่าการอิ่มเอิบอยู่ในผลของสมาธิ มันก็เป็นไปอยู่ชั่วระยะหนึ่ง มันก็ลืมอารมณ์นอก ลืมความเพลิดเพลินแบบโลก เพราะมันมีสิ่งที่ทำให้เราดื่มด่ำ กำลังหลง กำลังเพลินเพลิน กำลังดื่มด่ำเต็มที่อยู่ แต่นาน ๆ เข้า เมื่อมีเหตุการณ์มากระทบ มันก็เป็นไปตามรูปของเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์ที่จะชวนให้เราโกรธ โมโหฉุนเฉียว  มันก็รู้สึกเป็นไปเป็นไปตามรูปนั้นเลยทีเดียว หรือไปเจอสิ่งที่น่ารักน่าชอบ มันก็รักมันก็ชอบใจ ถึงแม้ว่าบางทีจากสิ่งนั้นไปแล้ว อันนั้นมันเป็นอดีตไปแล้ว มันก็ยังคิดถึง ยังต้องการ ยังอยากได้ อะไรเหล่านี้เป็นต้น  เท่าที่สังเกตดูในตัวของตัวเองมันก็มีอยู่อย่างนี้เสมอ ๆ จึงมานึกถึงพระพุทธเจ้าว่าในครั้งที่พระพุทธเจ้าออกบวชแล้ว แสวงหาโมกขธรรม ไปเจอครูบาอาจารย์ที่แนะนำในลัทธิข้อปฏิบัติที่จะเป็นไปเพื่อความสำเร็จมรรคผล เมื่อพระองค์ดำเนินไปแล้วผลของสมาธิก็ปรากฏ แม้แต่ภวังคตาจิตนี้พระองค์ก็ได้  และได้ดำเนินตามลัทธินี้เหมือนกัน แต่พระองค์ก็มามองถึงความรู้สึกทางด้านจิต ก็เป็นไปตามรูปของเหตุการณ์สิ่งกระทบ จะชวนให้หัวเราะร้องไห้เป็นทุกข์อะไรต่าง ๆ ก็รู้สึกจิตใจนี้เข้าสู่ระบบของเหตุการณ์อยู่ ไม่มีอะไรต้านทานหรือตัดขาดลงได้ ถึงแม้เราจะข่มมันก็ได้ชั่วครูชั่วคราว มันไม่แน่นอนไม่เด็ดขาด ท่านจึงว่าถึงแม้ครูบาอาจารย์สมมุติตัวของท่านเป็นอริยบุคคลท่านก็ถือว่าเป็น ปุถุชนอยู่ เพราะเห็นชัด ๆ ในทางด้านจิตใจว่า มันยังหลงในสิ่งที่ไม่ควรหลง ไม่เป็นไปตามรูปและตำราที่สั่งสอน ว่าเมื่อผู้รู้เท่าสภาพธรรมหรือรู้เท่ากฎธรรมดาของโลกแล้ว หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งว่ารู้เท่าโลกธรรม ๘ แล้ว ไอ้ความรู้เท่าจะทำให้จิตปกติ ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม แต่ทีนี้เรายังหวั่นไหวต่อโลกธรรมอยู่จะจัดว่าเป็นอริยชนไม่ได้ พระองค์จึงมาคลำหาทางที่จะดำเนินให้เป็นไปเพื่อความสำเร็จธรรม  เมื่อพระองค์มาพิจารณาถึงเรื่องภพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการจะทำลายนั้น  ก็ไม่ใช่อื่นไกล  ก็หมายถึงภพของจิต ถ้าจะหมายถึงร่างกายแล้วส่วนร่างกายนี้หากในเมื่อถึงที่สุดแห่งชีวิตมันก็ต้องสลายไปตามธาตุโลก ถึงแม้ว่ามันจะก่อมันก็แบบที่เรียกว่าอาจจะไม่ใช่รวมจุดนั้นเข้ามาอีก แต่สำหรับด้านจิตใจนี้แล้วมันเป็นตัวอมตะ จะต้องไปสู่ภพแต่ทีนี้ส่วนภพของจิตที่มันไปต่อได้ มันต่อกันอยู่ ณ สถานที่ใด มันมีรูปลักษณะความเป็นไปอย่างไร  อะไรเหล่านี้เป็นต้น พระองค์เกิดสนใจในทางนี้ พระองค์จึงเห็นได้ว่าภพของจิต คือจิตอยู่ใต้โลกธรรม ๘ ก็ไม่มีอะไรอื่นไกล  เหตุการณ์ที่กระทบอยู่เป็นประจำวัน สิ่งที่ต้องการ ไม่ต้องการ รัก หรือ เกลียด โกรธอย่างนี้ซึ่งมันกระทบความรู้สึกของจิตเป็นไปตามรูปเหตุการณ์ อันนี้เรียกกว่าเป็นไปตามโลกธรรม ๘ ตกอยู่ในอำนาจของโลกธรรมไม่รู้เท่าสภาวธรรมหรือโลกธรรม หรือเมื่อปล่อยให้จิตดำเนินเข้าสู่อารมณ์ดังกล่าว ก็เรียกว่าปล่อยให้จิตเข้าสู่ภพของจิตเป็นปกติ ไม่มีกำลังอะไรที่จะเข้าไปทำลายได้ เมื่อพระองค์มาเข้าใจถูกต้องแล้วพระองค์ก็สร้างกำลัง แต่พระองค์ดำเนินในทางอานาปานัสติวิธี คือ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ดุจในที่แนะนำทางด้านมิจฉาสมาธิคือสมาธิที่ไม่ชอบ นั้นเหมือนกัน แต่ท่านรวมเอากำลังมาเพื่อดำเนินอีกแบบหนึ่ง เช่น กำหนด พุทโธ  ก็ตามหรืออาจจะธัมโม สังโฆ จาโค อะไรก็แล้วแต่ โดยกำหนดที่ปลายจมูกเป็นที่ตั้ง  โดยจะหาอุบายวิธีผูกจิตของเรามั่นคง ไม่ให้วอกแวก เพราะผู้ทำใหม่ ๆ จิตมันวอกแวกหรือไวต่ออารมณ์  อาจจะไม่มีอุบายอะไรข่มให้อยู่ในอำนาจนั้นได้ จึงมีจุดที่ตั้งที่ปลายจมูกเอาไว้ แล้วก็มีลมหายใจเข้า-ออกนี้เป็นเครื่องยึดอีกต่อหนึ่ง และมีบริกรรมภาวนาซึ่งมีลมหายใจเข้าหายใจออกว่า พุทโธ ๆ อีกอย่างหนึ่ง  อาศัยหลายอย่างเพื่อยึดไว้ ไม่ให้จิตวอกแวกออกไปต่ออารมณ์สัญญาได้ง่าย พุทโธ ๆ อีกอย่างหนึ่ง  อาศัยหลายอย่างเพื่อยึดไว้ ไม่ให้จิตวอกแวกออกไปต่ออารมณ์สัญญาได้ง่าย พุทโธ ๆ อยู่เช่นกัน มันก็มีกำลังชนิดหนึ่งสูงขึ้นมาเช่นกัน  แต่ส่วนกำลังที่สร้างขึ้นมานี้เอาไปใช้อีกแบบหนึ่ง เช่น เอามาใช้กับความรู้สึกของจิต  เช่น เหตุการณ์ที่กระทบจะชวนให้เราโกรธโมโห เมื่อมันมีความรู้สึกโกรธโมโห ก็เอากำลังส่วนนี้ห้ามปรามไม่ให้จิตไปคิดให้เป็นไปตามสัญญาอารมณ์ที่ผ่านมาแล้ว คือ คอยเอามาห้ามปราม หรือว่ากดดันเอาไว้ หรือ เป็นเบรก ยับยั้ง แล้วก็ใช้บทวิจารณ์ว่าเมื่อจิตไปต่ออารมณ์สัญญาอย่างนี้  มันมีผลเสียผลดีอย่างไรบ้างอะไรเหล่านี้เป็นต้น  พยายามทำอย่างนี้เสมอ ๆ จนกว่าจะเกิดความชำนาญขึ้น  จนกระทั่งการลุกขึ้นนั่งลงหยิบของวางของ  หรือเราจะไปนั่ง ณ สถานที่ใด คุยกับบุคคลผู้ใด มีฐานานุรูปเป็นไปอย่างไร เราจะคุยขนาดไหนจึงจะไม่เกินกับเพศวัยฐานะของเรา จึงจะไม่เกินกับท่านผู้ฟัง หมายความว่า  ผู้ฟังอาจจะไม่รู้เรื่องอะไรเหล่านี้เป็นต้น  เราก็ใช้บทวิจารณ์และคำนวณอยู่เสมอ โดยว่าไม่ให้เป็นไปตามกฎธรรมดา เช่น มันเกิดมีความรู้สึกอย่างไรก็ปล่อยเป็นไปตามธรรมดา คือ หมายความว่ากำลังที่เราสร้างขึ้นมา สมมุติว่าเป็น อริยมัคคุเทศก์ ตัวที่จะนำเราเข้าไปสู่ความเป็น อริยบุคคล เอากำลังตัวนี้เป็นผู้พิพากษาความ คอยตัดสินความอยู่ภายในเสมอ เช่น เราจะลุกขึ้นจะทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับเราผู้เป็นสมณะ จึงจะเหมาะสมกับเราผู้เป็นอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาเป็นศิษย์ที่มีครู กิริยาอาการที่แสดงออกจะทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นไปเพื่อความครหา หรือเป็นสิ่งที่น่าเกลียด น่าชังซึ่งบุคคลผู้ได้เห็น อะไรเหล่านี้เป็นต้น  พยายามหาบทวิจารณ์อะไรมาคอยป้อนให้เสมอ จะลุกทีหนึ่ง จะนั่งทีหนึ่ง จะหยิบของวางของ อะไรเหล่านี้เป็นต้น ไม่ให้เป็นไปตามธรรมชาติธรรมดาเลย มีกำลัง อริยมัคคุเทศก์นำพาจัดให้เป็นไปอยู่เสมอ จนกระทั่งความรู้สึกของจิตที่รู้ต่อสิ่งกระทบ ที่น่ารักและน่าชังอะไรเหล่านี้เป็นต้น  ก็เอาอุบายอันนี้มาห้ามมาปรามมาแก้ไขอยู่ตลอดเวลา แล้วก็การทำสมาธิของเรา ๆ ก็พยายามทำให้เสมอไป เราจะเดินจงกรมก็ได้ จะนั่งสมาธิแบบพระท่านนั่งสมาธินั้นก็ได้หรือถ้าเราไม่มีความสามารถที่จะนั่งอย่างนั้นได้ เราก็นั่งเก้าอี้ แล้วก็มือซ้ายวางบนตักมือขวาวางทับ แล้วก็ตั้งตัวให้ตรงพอสมควร ถ้ามันตรงเกินไปมันตึงไม่สะดวกหายใจมันอึอัดเราก็พยายามผ่อนให้สบายที่สุดนั่นแหละแล้วก็พยายามกำหนดลมหายใจเข้าออก ในท่าสบายที่สุดเช่นกัน ถ้าลมหายใจเข้าออกเบามันไม่สบายก็ให้หนักหนักมันไม่สบายก็ผ่อนหา สั้นนักมันไม่สบายก็เอายาวยาวนักไม่สบายก็ผ่อนหา ให้พอดี ๆ ดีเรียบร้อยดีแล้วก็ให้พยายามกำหนดที่ลมหายใจเข้าออกหายใจเข้าพุท หายใจออก โธพุทโธ ๆ อย่าให้จิตวอกแวกไปต่ออารมณ์สัญญา เมื่อหากวอกแวกไปต่ออารมณ์สัญญาแล้ว เราพยามยามตั้งใหม่กำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกใหม่เราก็ทำอย่างนี้แหละ เสมอ ๆ ทีนี้ถ้านั่งมันเหนื่อยเราก็เดินเอา เดิน มันก็แล้วแต่เส้นทางของเรามันยาวขนาดไหนแค่ไหนแต่อย่าให้ยาวเกินไป ถ้าจะพูดตามพอดีที่ทำแล้วประมาณสัก ๒๕ ก้าว กำลังดี พอไปถึงทางเดินจงกรมประนมมือขึ้นระลึกถึง พุทโธธัมโม สังโฆ ๆๆ น้อมถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของศาสนา พระธรรมเป็นอุบายให้เราดำเนินตาม พระสงฆ์ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีผู้รักษาไว้ซึ่งศาสนาธรรม อะไรเหล่านี้เป็นต้น ขอนอบน้อมแด่ท่าน เสร็จแล้วก้าวขาขวาออกไป พุท ก้าวขาซ้ายออกไป โธ แล้วอย่าเดินเร็วนักอย่าช้านัก  อย่าไปเดินหนักให้ดัง  ตึก ๆๆ เดินธรรมดาเรียบ ๆ เดินก้าวขาหนึ่งพุทขาหนึ่งโธจนกระทั่งไปถึงหัวเดินจงกรมทางโน้น แล้วก็เวียนขวา ยืนสักหน่อยหนึ่งดีแล้วก็เวียนขวา พอตั้งตัวตรงมาถึงสายทางเดินจงกรมแล้ว ก็ก้าวขาขวาพุธ ขาซ้ายโธ ทำอยู่อย่างนี้เรื่อย ๆ โดยอุบายก็ต้องการอยากจะให้สติสัมปชัญญะ คือ สมมุติกันสั้น ๆ ว่า ตัวอริยมัคคุเทศก์  ตัวที่จะนำเราไปสู่ความเป็นอริยบุคคล ต้องการจะสร้างตัวนี้ให้พอกับความต้องการ แล้วก็จะเอากำลังตัวนี้มาเป็นตัวพิพากษาตัวตัดสินความว่าความรู้สึกของจิตซึ่งรู้สึกนี้ เมื่อเราประกอบให้เป็นไปตามความรู้สึกนี้ จะบังเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ควรหรือไม่ควรเราจะเอากำลังตัวนี้ เป็นผู้พิพากษาตัดสินความหากในเมื่อไม่ควรจะห้ามทันที หากในเมื่อควรแล้ว เราจะได้ดำเนินตาม บางทีจิตมันงอแงสันดานไม่ดีมันชอบสะดวกชอบสบาย ไม่ชอบกระทำในสิ่งที่ควรกระทำเท่าที่พิจารณาเห็นว่าดี  เราจะได้เอากำลังส่วนนี้บังคับหรือหาเหตุผลมาให้จิตของเราจิตของเรามีกำลังสมควรแก่งาน คึกคักต่อสู้ดำเนินไปให้เป็นผลสำเร็จได้  อันนี้โดยอุบายทั้งนั้น เราก็พยายามทำอยู่อย่างนี้ให้เสมอ  ถ้าเหนื่อยแล้วเราก็ยืนบ้าง วิธียืนก็เราจะลืมตาก็ได้ หรือจะหลับตาก็ได้  แล้วก็วางมือคล้ายกันกับว่าเดินจงกรม วางมือซ้ายลงไปก่อนทับคว่ำหน้าเข้าไปหาตัวเราแล้วก็เอามือขวาวางทับเกาะข้างหลัง  นี่วิธีเดินจงกรม แต่วิธี ยืนทำสมาธิก็เช่นกัน เพราะแบบเดียวกัน  ถ้าหลับตารู้สึกว่าโยกเยกเราก็ลืมตา ทอดสายตาประมาณซัก ๔ ซอก ถ้ามันห่างนักไม่ดีก็ใกล้เข้ามา ใกล้นักมันไม่ดีก็เอาออกไป ให้พอดี ๆ นั่นแหละ ก็กำหนดพุทโธ ๆ อยู่เช่นกัน แต่โดยอุบายแล้วก็ต้องการจะสร้างกำลัง อริยมัคคุเทศก์ ให้มีกำลังเหนือจิตให้มีกำลังเหนือการเคลื่อนไหวทุกอย่าง ไม่ให้เป็นไปโดยธรรมชาติธรรมดากำลังตัวนี้จะวิ่งให้ทันทุกกิริยาอาการและจัดแต่ง ให้เป็นไปตามรูปที่ถูกที่ควร ให้เหมาะสมกับ เพศ วัย ฐานะ เป็นหญิงเป็นชายเป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นเด็กวัยไหนก็แล้วแต่ การแสดงอกให้พอเหมาะพอดีกับเพศกับวัยกับฐานะของตัวเอง โดยอุบายแล้วก็ให้เป็นไปตามรูปนี้เสมอ จนกระทั่งเดิน ยืน นั่ง มันเหนื่อยแล้ว ก็นอน นอนก็ตะแคงขวา เอามือขวาวางซ้อนเข้าไปที่แก้ม แล้วก็เอามือซ้ายวางราบไปตามตัว วางขาทับกันกะตรงกับพอดี สังเกตดูถ้าตรงนักไม่ดี คู้เข้ามานิด ๆ หาวิธีทำที่สบายที่สุดก็กำหนดลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก พุทโธ ๆ เช่นกัน เป็นหลัก แต่ในอุบายวิธีที่ทำนี้ก็ให้เป็นในเดียวกัน คือมุ่งต้องการจะสร้างกำลังตัวคุมให้พอกับความต้องการ ทั้งนั้น ให้ทำอยู่อย่างนี้เสมอ ๆ แล้วอย่าเอากำลังส่วนนี้ไปใช้ในทางอื่น เช่น จิตมันจะยิ่งลงไป เราจะมองหรือกำหนดหาความสุขในผลของสมาธิแบบ เย็น เบา อิ่ม โล่ง โปล่ง เราก็ไม่เอา หรือต้องการอยากจะเห็นผีเห็นเทวดา ต้องการการอยากจะเห็นนิมิตต่าง ๆ อันที่จะทำให้เราเกิด  อภิญญาณสมาบัติ เราก็ไม่เอา เพราะองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระบิดาของพวกเราพระองค์ดำเนินมาก่อนพวกเราแล้ว พระองค์สำเร็จตามที่คณาจารย์ทั้งหลายที่วางหลักเกณฑ์เอาไว้ แต่ความสำเร็จของพระองค์ไม่มี ในอุบายวิธีที่พระองค์ดำเนินอย่างที่พรรณนาสู่ฟังตอนกลางนี้ จึงเป็นไปเพื่อความสำเร็จจึงได้นามว่าสยัมภู ได้เป็นศาสดาและผู้พระบิดาของพวกเรา  เพราะฉะนั้น การดำเนินหรือเจริญรอยตามยุคลบาทของพระองค์ต้องดำเนินตามรูปดังกล่าวนี้ จึงจะเรียกว่าผู้เจริญรอยตามยุคลบาทของพระองค์ เพราะในอุบายวิธีที่ทำนี้พวกเราก็พอที่จะเข้าใจแล้ว พอทำแล้วได้ผลทันทีเลย ไม่เสียเวลา เมื่อเรามีสติหรืออริยมัคคุเทศก์ ตัวนำพานี้พอแล้วกิริยาอาการแสดงออกของเราไม่มีการคะนองคำพูดไม่คะนอง ถึงแม้จะตลกก็ไม่มีกิริยาของกิเลสนำพา อาจจะเป็นเพียงแค่ที่เรียกว่านิสัยของคนไม่เหมือนกัน อาจจะไม่ตลกติดนิด ๆ แล้วก็ทำให้ผู้นั้นมีชีวิตชีวาหรือตื่นเต้นเพลิดเพลิน อะไรเหล่านี้เป็นต้นก็แล้วแต่นโยบายที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ใช่ด้วยการปราศจากสติ ไม่ใช่โดยที่เรียกว่าไม่พิจารณา เพราะฉะนั้น ในอุบายการดำเนินแล้วเรามองเห็นอานิสงส์ได้ชัดเหลือเกินว่า วันทั้งวันนี้ ก่อนที่เราจะพูดออกมาหรือก่อนที่เราจะทำอะไรแต่ละอย่าง ควรหรือไม่ควรจะประกอบด้วยโทษหรือประกอบด้วยคุณ เราใช้อิริยมัคคุเทศก์วิจารณ์ตัดสินความให้แน่นอนหากในเมื่อประกอบด้วยโทษห้ามทันที ในเมื่อจะเป็นไปเพื่อคุณแล้ว พยายามน้อมหรือหักหัวเข้าทันที  เมื่อพวกเรากระทำได้อย่างนี้วันทั้งวัน หากในเมื่อถึงกลางคืนเรานอนแล้วนึกถึงการผ่านมาของเราภายในกลางวันนี้เราไม่มีทางที่จะตำหนิเลย ทุกกิริยาอาการมันไม่น่าเป็น บรรดาบัณฑิตทั้งหลายเห็นต้องชมแน่ เราเองเราก็รู้สึกมีความสบายในกิริยาการแสดงออกของเราว่า ไม่มีบาปไม่เป็นการกระทบกระเทือนคนอื่น ไม่มีอุบายวิธีที่จะทำให้คนอื่นได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนในกิริยาอาการทั้งหมดนั้น ไม่มีในอุบายอย่างนี้แน่  เราก็รู้สึกสบายเพลิดเพลินทำให้จิตใจของเราผ่องใส  อันนี้เป็นความสุขอันที่เรียกว่าบรมสุข ไม่มีความสุขแบบกามสุขอามิสสุข เช่น ส่วนความสุขที่ว่า อิ่ม.เบา เย็น แสงสว่าง อะไร  เหล่านี้เป็นต้น อันนี้เขาเรียกว่ากามสุข มันเป็นกามารมณ์ชนิดหนึ่ง เพราะถ้าผู้ใดทำสมาธิได้อย่างนั้นผู้นั้นตายในระยะนั้นก็สามารถที่จะเป็นได้เพียงแค่เทพเจ้า มีความเป็นอยู่แบบเทพเจ้า เพราะฉะนั้นเทพเจ้าท่านเรียกว่ากามภพชั้นหนึ่งเท่านั้น  เพราะฉะนั้น ผู้ใดมีอารมณ์ความเป็นอยู่แค่นั้นเขาเรียกว่าเสวยอยู่ในกามภพ หรือกามารมณ์ ก็ได้เพียงแค่นั้น  เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ใดไม่ติดอยู่ในกามภพและกามารมณ์นั้น  จึงจะเห็นซึ่งบรมสุขที่แท้จริง คือ อะไร ความบริสุทธิ์ใจ ความแน่ใจ ความสบายใจ ความเบาใจ อันปราศจากอาสวะกิเลสตัณหา นำทุกสิ่งทุกอย่างของเราให้เป็นไปตามรูปของมันได้ เราสามารถชนะได้แล้ว ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะเปล่งอุทานออกมาว่า ชิตังเม ข้าพเจ้าผู้ชนะแบบที่เรียกว่า กิเลส หรือตัณหา ซึ่งเป็นเจ้านายของข้าพเจ้านำพาทุกสิ่งทุกส่วนของข้าพเจ้าให้เป็นไปตามรูปของมัน ข้าพเจ้าไม่มีอิสระในตัว เป็นไปตามรูปของเหตุการณ์หรือกิเลสแท้ ๆ ไม่มีกำลังส่วนนี้ขึ้นมาต่อสู้กระตุ้นหรือว่าทำยุทธวิธีกับกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ จนข้าพเจ้าเป็นไท ได้เปล่งอุทานออกมา อะไรเหล่านี้เป็นต้น พวกเราจะเห็นได้ชัดหรือจะได้เปล่งอุทานออกมา ในวันข้างหน้า ชิตังเม ข้าพเจ้าชนะอันนี้แหละ ก็จะเป็นย่างนั้น เพราะฉะนั้น ขอให้พวกเราผู้เป็นชินบุตร ลูกชายลูกหญิงของพระพุทธเจ้า จงหาอุบายวิธีทำสมาธิจิตนี้ เพื่อเป็นไปในทางที่ถูกที่ควรแล้วจะได้รับอานิสงส์อันยิ่งใหญ่อย่างที่พระพุทธเจ้าได้รับนี้ แน่นอน  ทีนี้การบำเพ็ญภาวนานี้รู้สึกว่ามันแน่นอนกว่าอย่างอื่น  คืออย่างอื่นเราทำบุญให้ทานบริจาคให้จิตของเรานี้ไปเกาะรุนแรงอยู่แล้ว ถึงที่สุดแห่งชีวิตของเรานี้ ไม่สู้จะแน่นักหรอก เพราะว่าอารมณ์อันนำพานี้มันไม่แน่นอน ไม่รู้อารมณ์ชนิดไหนจะนำพาเป็นเบื้องแรกทำให้จิตของเราเผลอไปตามรูปของมัน แต่ถ้ามีอุบายการดำเนินทางด้านสมาธิจิตอยู่ดังกล่าวนี้  จิตของเราจะคิดไปในทางที่ชอบแน่นอน มีแต่มองในแง่ดีทางดี ที่จะปรับปรุงในทางที่ดีทั้งนั้น เช่น เขาด่าเรา ๆ ก็ไม่ได้เอาอารมณ์ส่วนนั้นมาหาเรา อะไรเหล่านี้ทั้งหมดหมายความว่าสิ่งที่ไม่ดีสลัดออกมา สิ่งที่ดีนี้จงยึดเอาไว้  เป็นหรือสัญญาลักษณะเครื่องหมายของผู้ปฏิบัติ เพราะฉะนั้น อันนี้เมื่อถึงที่สุดแห่งชีวิตอารมณ์ของจิตนี้จะได้อะไรกันแน่มันก็ต้องเป็นอารมณ์ที่ดีหมดจด อารมณ์ที่สะอาดอารมณ์ที่เยือกที่เย็นเมื่อเราได้อย่างนี้เราจะเป็นอย่างไร อย่างต่ำที่สุดสวรรค์ย่อมเป็นของพวกเราแน่นอน อันนี้ประจักษ์แท้ เพราะฉะนั้นในอุบายวิธีที่แนะนำทางด้านสัมมาสมาธิเทียบกับมิจฉาสมาธิ เพื่อให้พวกเราผู้เป็นพุทธมามกะชน ผู้ประกาศตนแล้วว่าเป็นลูกชายลูกหญิงของพระพุทธเจ้า ให้ได้เข้าใจในอุบายวิธีการดำเนินในทางที่ถูกที่ควร หากในเมื่อลงมือกระทำแล้ว อย่าได้เป็นไปในทางมิจฉาสมาธิให้เป็นไปในทางสัมมาสมาธิ แล้วจะได้ผลอันมีค่า คือ ผลนั้นได้แค่ อริยทรัพย์เช่นในองค์สมเด็จพระผู้มีพระภคเจ้าผู้พระบิดาและพระอรหันตขีณาสพผู้พี่ซึ่งท่านได้ไปแล้ว พวกเราจะได้สมบัติอันนี้มาเป็นสมบัติของพวกเรา และพวกเราก็จะได้เป็นผู้มีความสุข ไม่เสียทีที่เกิดมาพบปะพระพุทธศาสนา ถึงที่สุด เอวํ





พิมพ์คัดจากหนังสือฐิตวิริยาจารย์เทศนา  รวมธรรมคำสอน ของ พระวิสุทธิญาณเถร
หลวงปู่สมชาย  ฐิตวิริโย
วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
เล่ม ๑(หน้าที่ ๕๑ – ๕๘)
วัตถุประสงค์ : พิมพ์ถวายเป็นธรรมทาน เพื่อมอบเป็นที่ระลึก แด่ผู้ร่วมสร้างเจดีย์ วัดเขาสุกิม
สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ

เรื่อง อุบายวิธีทำลายฐานกิเลส

พระธรรมเทศนา

เรื่อง  อุบายวิธีทำลายฐานกิเลส


        บางทีนึกอยากจะคุยธรรมะ แต่เมื่อมานึกถึงเสียง มันก็ไม่ไหว คุยได้คำสองคำก็ต้องหยุดหายใจ ถ้าคุยยาว ๆ มันก็ไปไม่ได้ ลมมันไม่พอและก็คอหายไม่ดี และก็คิดว่าถ้าปกติคอหอยดีเรียบร้อยละก็จะได้คุย แต่ยังไงก็ขอให้ตั้งใจเถอะ เราก็ฟังกันมานานเหลือเกินแล้ว ปฏิปทาข้อปฏิบัติ อันที่จะเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ เป็นอุบายวิธีทำลายฐานกิเลส พวกเราก็เข้าใจกันดี จุดมุ่งหมายของเราก็รู้อยู่แล้ว ก็มุ่งทำลายฐานกิเลสหรือตัวภพของจิต ฐานกิเลสก็เล่าให้ฟังแล้วว่าอยู่ไหน ถ้าพวกเราไม่พะวงในเรื่องธรรมะอยู่ที่ตำราหรืออยู่ที่ตัวเรา หรือเป็นสิ่งวิเศษบินมาจากฟากฟ้าละก็ คงจะมองออก ฐานของกิเลสภายในมี ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตัวสำคัญก็มีอยู่ ๖ อย่าง ฐานใหญ่ ๆ ของเค้า ส่วนคู่ของฐานที่เกิดขึ้น ตามันก็คู่กับรูป สิ่งที่เห็นด้วยตา หูมันก็คู่กับเสียง จมูกมันก็คู่กับกลิ่น ลิ้นมันก็คู่กับรส กายมันก็คู่กับสัมผัส ใจมันคู่กับอารมณ์ มันก็เป็นคู่ ภายนอกมีอยู่ ๖ อย่าง ซึ่งเป็นสิ่งหลอกกัน เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดกิเลสขึ้นมาได้ ในเมื่อเราเข้าใจธรรมะเป็นเรื่องของบุคคล เป็นเรื่องตัวของเรา หรือเป็นเรื่องของความคิดไปติดต่อสิ่งกระทบ ถ้าเราเข้าใจถูกต้องตามสภาพของความเป็นจริงแล้ว เราก็คงจะไม่ไปหลงตำรา เราก็คงดูธรรมะของจริงที่มันมีอยู่ในเรา ตาเห็นรูปเป็นยังไงหละ ถ้ารูปสิ่งที่พอใจก็อยากได้ มันก็มีแค่นั้น มันอยากได้ ความอยากได้เป็นกิเลส ถ้าเราอยากได้มันไม่ได้มันก็เป็นทุกข์หรือในเมื่อเราได้มาแล้ว สิ่งที่เรารักก็ต้องพิถีพิถันคือต้องรักษาให้มันเป็นอยู่ มีอยู่ คงอยู่ มันก็เป็นทุกข์ ไอ้สิ่งที่ตามมามันก็คงไม่เกินทุกข์ ก็คือทุกข์นั่นเอง และสิ่งที่เราเห็นนั้นมันคืออะไร ทำไมจึงไปหลง เราพยายามตามคิดไปเรื่อย ๆ สิ่งที่หลงนั้นน่ะเป็นวัตถุ หรือบุคคล ถ้ามันหลงเป็นบุคคลมันหลงว่าไง หลงว่าสวย สวยจริงหรือ อันนี้คืออะไรกันแน่ อันนี้มันคือธาตุขันธ์ ธาตุขันธ์เหล่านี้เป็นไปอยู่ได้โดยอาหาร อาหารอันที่มาหล่อเลี้ยงคืออะไร ไล่ไปมองให้ดี ๆ ในเมื่อเรามองให้ดี ๆ พิจารณาแล้ว  สิ่งที่มาหล่อเลี้ยงเขาก็ล้วนเป็นของสกปรก ก็ได้แก่พวกหมู เห็ด เป็ด ไก เราก็ย่อมรู้ดี สภาพของความเป็นจริงของเขาล้วนเป็นสิ่งสกปรก แม้แต่แกงออกมาใหม่ ๆ ละก็หอมนะซี้ น่าอยาก น่าฉัน แต่ว่าสักประเดี๋ยวพอได้อายุละซิเค้าจะเหม็นบูด เหม็นเปรี้ยว เหม็นเน่า พอมันลงคำว่าเหม็นแล้วนี่ เอาไม่ได้เลย สภาพของความเป็นจริง ถ้าเค้าไม่ได้ไปอยู่ในท้อง เค้าอยู่ในภาชนะเค้าก็ต้องแปรสภาพ คือความจริงของเค้ามันอย่างนั้น
        ฉะนั้นเราเอาเข้ามาหล่อเลี้ยง สิ่งนั้นก็คือของสิ่งนั้น ในเมื่อเรามาวิเคราะห์แล้วสิ่งที่หลงนั้น เป็นของสะอาดหมดจดจริงหละหรือ หรือเป็นของสกปรก เราก็ต้องตามใจของเรา หรือเราหลงตรงไหนมัน อะไรมันดีก็ไล่มันไปเลย เอาจนกระทั่งจิตของเราจำนน ไล่เข้าไปเถอะ มันหลงเรื่องอะไร ไล่เข้าไปที่ฐานจนกระทั่งเค้ายอมรับว่า โอ…สภาพอันนี้เป็นสภาพที่ไม่สวย ไม่งาม เป็นสภาพที่ต้องแตกต้องดับ เป็นเพียงแค่ธาตุประชุมกันอยู่ชั่วคราว เดี๋ยวก็สลายไปแล้ว ก็เหมือนเราไปรักดิน รักก้อนดิน รักธาตุ รักขันธ์ มันไม่มีความหมายอะไรนี่ ในเมื่อใจของเรารับ เข้าใจตามสภาพของความเป็นจริง ความพะวงความเป็นกังวลในสิ่งนั้นมันก็หมดไป มันหมด ที่เราจะเป็นทุกข์ เพราะจะบังเกิดผลเสีย เราเป็นทุกข์เพราะความกระวนกระวาย มันจะหมดไปเอง มันไม่มีอะไรที่จะเกิดขึ้นแล้ว เพราะเราเข้าใจสภาพของความเป็นจริงในสิ่งนี้ ตลอดวัตถุอื่นๆ ที่เราต้องการก็เช่นกัน มันก็เหมือนกันหมด อันนี้หมายความว่าสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่เราเห็นด้วยตา ไม่ต้องการมันก็เป็นทุกข์ สิ่งนี้เราปรารถนา มันมาให้เราเห็น เราได้เห็นมันก็เป็นทุกข์เหมือนกัน คือว่าแล้วก็คือทุกข์นั่นเอง แล้วสิ่งนั้นทำไมหละเราถึงไม่ชอบมัน เป็นเพราะอะไร เป็นวัตถุหรือบุคคล วัตถุก็ดี บุคคลก็ดี ที่เราไม่ชอบเป็นเพราะอะไร ก็ไล่มันเข้าไปให้มันยอมจำนน คือสภาพอันนั้นกับอันที่เรารักมัน ก็เหมือนกันนั่นเอง อะไรเหล่านี้ อันนี้เราก็ไล่มัน ไล่เบี้ยมันเข้าไป จนใจของเราจำนน อันนี้
        หูก็เช่นกัน ในเมื่อหูได้ยินเสียง เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงที่น่ารัก เสียงที่น่าปรารถนา เราก็ดีอกดีใจกระโดดโลดโผน ความดีใจนั้นก็เป็นกิเลส เพราะความดีใจจะไปคู่กับเสียใจ ถ้าเราเกิดรักสิ่งนี้ ไอ้สิ่งที่ตรงกันข้ามก็เกลียดชัง คือเสียงที่ไม่ไพเราะ เปรียบเสมือนอย่างนี้ เค้าชมเราเราก็เกิดรัก พอใจดีใจกับคำชม แสดงความเป็นมิตรกับคนที่ชม แต่คนที่เค้าตำหนิยกโทษ เราก็โกรธเกลียดมัน ตั้งตัวเป็นศัตรูกับมัน ไม่อยากมองหน้ามัน ไม่อยากเห็นหน้ามัน มันก็มีแค่นั้น ในเมื่อเราได้ยินมันก็มีอยู่ว่าชัง รัก ดีใจ เสียใจ กลับเฉย ๆ เท่านั้น มันก็มีแค่นั้น เราต้องไล่เข้าไปให้ถึงฐาน เขาด่าเราเรามันเป็นยังไง เค้าด่าเราว่าอย่างไรหละ เค้าว่าเราชั่ว เราชั่วไหม ถ้ามันไม่ชั่ว เขาว่าเราชั่วมันก็ไม่ได้ชั่วอย่างที่เขาว่า หรือมันชั่วไล่มันเข้าไป พระพุทธเจ้าเขาติหรือเปล่า ท่านวิเศษกว่าเรามากมาย ทำไมเขาถึงติได้ เราก็ไล่เปรียบเทียบกันไปเรื่อย ๆ คิดว่าจะจำนนเอง ก็มันมีแค่นั้น ทั้งสิ่งที่น่ารัก ไม่น่ารัก ก็ไล่มันเข้าไปก็แค่นั้น อันนี้หมายถึงเสียงกับหูกลิ่นเค้าคู่กับจมูกก็เหมือนกัน ถ้าได้กลิ่นหอม ๆ ละก็แหม อยากจะหา แต่ถ้าตรงข้ามก็เกลียดมันแค่นั้นแหละ มันก็มีแค่นั้น แล้วก็วิเคราะห์ อันนี้ได้ความจริงว่าสภาพนี้มันคืออะไร ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ให้มันได้ความเช่นกันลิ้นก็เหมือนกัน อาหารอันโอชาก็อยากฉันท์ วันนี้ไม่มีก็ถามหาหรืออยากหามาไว้ อันที่ไม่เอร็ดอร่อยก็ไม่ปรารถนาไม่เอา ไม่ต้องการ มันก็อยู่แค่นั้น ต้องพิจารณาดูให้ดี ๆ ว่าเราจะฉันท์เพื่ออะไร ฉันท์เพื่อความอยู่รอด ฉันท์เพื่อความเป็นอยู่ ฉันท์เพื่อให้มีกำลังวังชา เพื่อจะปฏิบัติกิจของพระศาสนา กอบโกยในสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล ในสิ่งที่เป็นบารมี เราต้องวิเคราะห์ให้มันถูก เจตนาตัวนี้ ตัวสำคัญ เจตนาผิดก็เป็นกิเลส ผู้มีเจตนาที่ถูกต้องก็ไม่เป็น ถ้าผู้ต้องการฉันท์เพื่อบำรุงผิวพรรณ ฉันท์ด้วยความหลงรสชาติ ไม่ได้วิเคราะห์ตามสภาพของความเป็นจริง ว่าสิ่งนี้แสลงต่อธาตุขันธ์เราไหม ปกติเคยฉันท์แล้วเป็นยังไง ลุอำนาจกิเลสเราไปดำเนินมันผิด ต้องนึกถึงคำว่า อาหารสัปปายะ  ฉันท์แล้วเกิดความสบาย อาหารที่เราฉันท์แล้วเกิดความสบาย สบายทั้งเข้าสบายทั้งออก สบายมันต้องมองหลายด้าน หลายฐาน จนกระทั่งภาวนาไม่โงกง่วง ไม่ซึม อาหารไม่ทับ ฉันแล้วปกติธรรมดา มันต้องมองหลายมุมกันเลย ทุกสิ่งทุกอย่างเราต้องดำเนินไปตามความสบาย ตามหลักที่ว่า อาหาระสัปปายะ นี่มันเป็นอย่างนั้น
        โผฏฐัพพะ ตามสภาพของเขานั่นแหละ เหมือนกับให้เข้าใจจนกระทั่งอารมณ์ สิ่งทั้งหลายดังกล่าวมาทั้งห้า หมายความว่าภายในห้า ภายในนอกห้า มันก็สิบ ในเมื่อเราผ่านไปแล้วคิดถึงมัน เกิดความรู้สึกอย่างไรบ้าง ทางด้านจิตใจของเรามันเป็นอย่างไรบ้าง ดีใจ เสียใจ ตามเหตุการณ์ไหม หรือปัจจุบันที่แสดงอยู่เดี๋ยวนี้มันดีใจ เสียใจกับเหตุการณ์ไหม….อันนี้เป็นส่วนของใจ สำคัญที่สุดก็คือใจ….เค้าจะแสดงออกมายังไงต่อสิ่งกระทบ หลักใหญ่อยู่ที่ใจ ฉะนั้นเราต้องดูใจของเราว่าปัจจุบันเหตุซึ่งกำลังแสดงอยู่เป็นยังไง เราจากไปแล้วรู้สึกมันเป็นยังไง มันรู้สึกดีใจ เสียใจ กับสิ่งนั้นไหม เราก็วิเคราะห์ หากในเมื่อเราสร้างอำนาจส่วนนี้สมบูรณ์ขึ้นมา สามารถประคองจิตของเราให้อยู่ในอำนาจส่วนนั้นแล้ว รู้สึกจะไม่มีปัญหาทุกสิ่งทุกอย่าง เราวิเคราะห์ตามสภาพความเป็นจริง จิตจะยอมรับในเมื่อจิตยอมรับนี่เอง มันบอกไม่ถูกนะ มันบอกไม่ถูกว่าจิตของเรามันจะดิ่งลงยังไงกันบ้าง เราจะสบายขนาดไหน ทางด้านจิตใจของเราสบายที่สุด ขอให้ใจของเราสบายเป็นสำคัญ ทุกอย่างเราจะสบายไม่กังวล ไม่วุ่นวาย ไม่เป็นทุกข์ต่อสิ่งทั้งปวง มีแต่ความวางเฉย ด้วยความรู้เท่าหมด ไม่กระวนกระวายใจไม่ไผ่หา ไม่อยากได้  ไม่ดิ้นรน ปกติธรรมดา ๆ สิ่งที่ได้ที่ถึงก็ถือว่าเป็นของที่ต้องผ่านไปชั่วคราว เดี๋ยวก็ต้องสลาย มันอยู่แค่นั้นแหละ อันนี้ขอให้พวกเราตั้งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือการสร้างส่วนอำนาจส่วนบังคับให้สมบูรณ์ขึ้น เดินจงกรม นั่งสมาธิ นอนทำสมาธิ ยืนทำสมาธิ ให้รวบรวมกำลังอย่างที่เราทำให้กำหนดอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งของเราอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการปฏิวัติกับจิต ไม่ให้วิ่งไปต่ออารมณ์สัญญาภายนอก ให้รับรู้อยู่ที่จุดไต้บังคับ ให้รับรู้อยู่ที่จุดนั้น คือตัวตปธรรม ที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าสมบูรณ์ดีแล้วก็สามารถบังคับได้เต็มที่ ถ้าบังคับได้เต็มที่แล้ว การโอปนยิกธรรม น้อมพิจารณาสภาพของความเป็นจริงเหล่านี้ ไม่ใช่ของยากเป็นของง่าย แต่หากในเมื่ออำนาจส่วนบังคับไม่พอ เรามาพิจารณาจะกลายเป็นเรื่องฟุ้งซ่านเปล่า ๆ ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้น เพราะจิตไม่ยอมรับ ก็มีแต่ความฟุ้งซ่าน
        เพราะฉะนั้น ขอให้รีบตั้งใจบริกรรมภาวนาหนักเข้า กำหนดเข้า กำหนดเข้าไป ในเมื่อมันเผลอสติ ก็กำหนดเข้ามาหาจิต อย่าไปโมโห อย่างไปกระแทกแดกดัน กำหนดเข้ามาดี ๆ ดำเนินกันไป เวลาเดินจงกรมก็กำหนดที่เท้าเหยียบ เท้าเหยียบพื้น พุทโธพุทโธ  ไปเรื่อย ๆ เอามันไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดความสมบูรณ์ดีแล้ว สติกับจิตไม่หนีหน้าตัวอำนาจส่วนบังคับไปได้แล้วมันสบาย เราเรียกมาใช้ได้ทุกเมื่อ เรียกมาใช้ได้ทุกการ เขาจะเกิดสามัคคีกัน รวมตัวกันเลย เราจะลุก จะเหิน จะเดิน จะนั่ง แล้วแต่เขาจะต้องนึกถึงหลายสิ่งหลายอย่าง สันตติการสืบเนื่องเป็นอย่างไร เป็นชวนะ ชวนะมันยังไง ถ้าจะมองคำว่าชวนะ มันก็เหมือนเชาว์แต่มันไว ไวกว่าเชาว์ไปอีกเรียกว่าชวนะ มันไวจนมองแผล็บเดียวเราไม่ต้องไปคิดว่าเราคือใคร เราเป็นลูกพระตถาคต เราเป็นแม่ชี เราเป็นพระ เราเป็นเณร เราไม่ต้องไปนั่งคิดมาก มันจะนึกถึงกันหมด แล้วอาการล็อกแล็กไม่มี สุขุมหนักแน่น พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะปัญญา ควบคู่กันไปหมดสามารถบังคับให้เป็นไปตามรูปธรรม แสดงออกทุกอย่างสมบูรณ์ สุขุมหนักแน่น ไม่วอกแวก อันนี้เป็นคุณสมบัติอันแท้จริง เป็นผลที่เราได้ และจิตใจก็เหมือนกัน ก็ไม่มีโอกาสที่จะไปต่ออารมณ์สัญญาอีรุ่ยฉุยแฉกของเค้าไม่มี อำนาจส่วนบังคับเขาไว ป้องกันไว้อยู่ตลอด อันนี้คืออะไร เค้าย่อมรู้ตามสภาพความเป็นจริงนั้น ๆ เสมือนอย่างว่าเราเคยเป็นเด็กเล่นอะไร ของเล่นต่าง ๆ เวลานี้เราเล่นอย่างนั้นไม่ได้อีกแล้ว ทุกอย่างที่เราผ่านวัยของความเป็นเด็กมา ตั้งแต่เด็กอ่อน เป็นโตหน่อย และเด็กโตมากจนกระทั่งหนุ่ม อะไรเหล่านี้เป็นต้น การละเล่นต่าง ๆ นั้นจะทำอีกไม่ได้แล้ว ถึงอย่างไรก็ทำไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ฉันใด สิ่งที่เราปรารถนา เราดิ้นรนบ้าบอคอแตก ก่อให้เกิดทุกข์เช่นกัน ก็ไม่มีโอกาสที่เราจะเป็นไปได้อีกแล้ว เพราะความไวของสติ ความไวของปัญญา สติสัมปชัญญะ ทุกอย่างมันพร้อม เกิดสามัคคีกันขึ้น สามารถทำให้เรามองได้ชัด อันนี้คืออันนี้ ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก ตลอดเค้าด่าเรา เค้าชมเรา มันเกิดความวู่วาม เดี๋ยวก็สงบ มันไม่มีอะไรที่จะไปต่อ
        เพราะฉะนั้นขอให้พวกเราผู้ปฏิบัติตั้งใจ ตั้งใจกันให้ดี เอากันให้ดี เอาเถอะ เชื่อเหลือเกินว่าพวกเรา ดำเนินตามนโยบายที่อาจารย์ว่ามานี้ พวกเราก็จะได้รับผลเป็นที่พึงพอใจแน่นอน ขอให้พวกเราตั้งอกตั้งใจปฏิบัติกันก็แล้วกัน
        เอาหละทีนี้ เล่าสู่กันฟังเพียงแค่นี้ แล้วพวกเราจะได้เลิกกันไปภาวนา เอาหละ เอวัง

                                                                                       ๑  กันยายน  ๒๕๒๖


พิมพ์คัดจากหนังสือฐิตวิริยาจารย์เทศนา  รวมธรรมคำสอน ของ พระวิสุทธิญาณเถร
หลวงปู่สมชาย  ฐิตวิริโย
วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
เล่ม ๑(หน้าที่ ๑๖๔ – ๑๖๘)
วัตถุประสงค์ : พิมพ์ถวายเป็นธรรมทาน เพื่อมอบเป็นที่ระลึก แด่ผู้ร่วมสร้างเจดีย์ วัดเขาสุกิม
สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ


อุบายวิธีดำเนินสมาธิ


อุบายวิธีจับจิต
ที่นี้ส่วนการบำเพ็ญของพวกเรา ก็คงจะเข้าใจกันพอสมควรเพราะว่าแนะนำเสี่ยมสอนกันอยู่เสมอ แต่สำหรับการได้ยินได้ฟังมานั้น มันก็อาจจะแตกต่างกันบ้างหลายครูหลายอาจารย์ หลายแบบหลายอย่าง เพราะนโยบายการบำเพ็ญนั้นรู้สึกว่าจะแตกต่างกันบ้าง เพราะการทำสมาธิจิตนี้ไม่ใช่ทำกันมาตอนพระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญพุทธแล้ว มีการบำเพ็ญสมาธิจิตกันมาจากนั้นก็หาไม่ เพราะด้านสมาธิสมบัตินี้รู้สึกว่าจะมีมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดเสียด้วยซ้ำไป อันนี้พวกเราคงเข้าใจดี แม้แต่พระพุทธเจ้าของเรายุคสมัยก่อนการศึกษาศิลปะวิชาการต่าง ๆ เท่าที่พวกเราได้ทราบก็รู้สึกว่าจะศึกษาจากบรรดาครูอาจารย์ที่เอียงมาทางด้านศาสนา ส่วนมากมักจะเป็นอย่างนั้น ยุคหลังจนกระทั่งสิทธัทถะกุมาร เบื่อความเป็นอยู่ในโลก และเหตุการณ์ของโลกที่แสดงอยู่พร้อมทั้งข้าศึกที่แสดงอยู่ พร้อมทั้งหมู่ญาติทั้งสองจะเกิดการรบราฆ่าฟันกัน สารพัดนานับประการท่านก็มีความเบื่อเป็นกำลัง จังเป็นเหตุให้ท่านทรงออกผนวชบวชแล้วแสวงหาโมกขธรรม ท่านก็ไปตามครูอาจารย์ที่ท่านเคยศึกษามาก่อนเหมือนกัน ไปตามครูอาจารย์ที่ท่านเคยศึกษามาก่อน แต่บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้นที่ท่านเฟ้นหาก็ล้วนแต่เป็นครูอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในระหว่าง ๖ ปี ๖ พรรษา นั้นก็รู้สึกว่าท่านพยายามศึกษาลัทธิไตรเพทต่าง ๆ จนสำเร็จ แต่ละไตรเพทแต่ละลัทธิ แต่ละเจ้าลัทธิก็สมมุติให้ท่านเป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น แต่ตัวของพระองค์เองไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระอรหันต์เพราะพระองค์ได้รู้พระองค์ได้ดี ว่าไม่หมดจากกิเลส กิเลสยังมีอยู่จึงเป็นเหตุให้พระองค์ไม่นิ่งนอนใจจึงแสวงหาต่อไปจากครูอื่นอาจารย์อื่นดล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งนั้น พอท่านจงไตรเพทครูอาจารย์นั้นก็ให้ท่านเป็นพระอรหันต์อีกเช่นกัน แต่ตัวของพระองค์เองก็ไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระอรหันต์ ก็ต้องหาครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่ชาวโลกเขาเชื่อถือว่าเป็นอริยะบุคคลชั้นสูงต่อไป เฟ้นหาอยู่ ๖ ปี ล้วนแต่อาจารย์ที่ดัง ๆ ทั้ง ๖ ปี แต่ก็ไม่ได้เป็นไป เพื่อความสำเร็จเป็นสยัมภู ต่อมาเมื่อพระองค์ได้ออกปฏิบัติโดยลำพังดำเนินตามปฏิปทาที่พระองค์เข้าใจว่า อันนี้คืออุบายวิธีทรมานต่าง ๆ เป็นการทรมานกายเช่นการตากแดด ย่างไฟ หรือชำระกิเลสด้วยไฟ นอนฝากนอนหนามกินขี้วัวขี้ควาย อาจจะฝังตัวให้ดินมันดูดกิเลสสารพันทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไปทั้งหมด ไม่ใช่อุบายวิธีที่จะกำจัดกิเลสได้ ส่วนกิเลสพระองค์เข้าใจว่าอยู่ที่จิตใจ เรื่องภพจิตอยู่ที่จิตใจ เรื่องกิเลสอยู่ที่จิตใจ ความรู้สึกของจิตใจมีรูปลักษณะเป็นกิเลสเป็นอย่างไรพระองค์รู้ รู้แล้วว่าความรู้ของจิตคือตัวธาตุรู้ มันรู้ยังไงเรียกว่ากิเลส ธาตุรู้คือจิตที่รู้ มันรู้ยังไงเรียกว่าธาตุ พระองค์มาเข้าใจอันนี้จึงได้หวนมาหาปฏิปทาข้อปฏิบัติอย่างที่ปรารภสู่ฟังในวันนั้นว่า พระองค์จับจิตของพระองค์ยังไง อย่างที่เล่าถวายไปแล้วนั้นว่า จิตใจไม่ใช่วัตถุ ถ้าเป็นวัตถุเราสามารถหยิบด้วยมือของเราเอามาวางได้ เช่นถ้วยเป็นวัตถุอันหนึ่ง มือมันก็คือวัตถุอันหนึ่ง ก็สามารถหยิบมาวางได้
แต่สำหรับจิตใจไม่ใช่วัตถุ จิตใจเป็นเพียงแต่ธาตุรู้ อย่างที่เรารู้แหละครับ เรารู้ดีชั่ว ชอบไม่ชอบ โกรธเคือง ชอบ รัก อะไรต่าง ๆ ซึ่งมีความรู้ ความรู้นั่นแหละครับจิตเป็นตัวผู้รู้ ธาตุรู้ตัวนั้นแหละครับ ธาตุรู้ตัวนั่นแหละครับคือตัวของเราแท้ สังขารที่นั่งเติ่งเมิ่งดูกันอยู่นี่ ไม่ใช่ตัวของเรานะครับ อย่าไปเข้าใจว่าตัวของเรานะครับ อันนี้เป็นเพียงแค่ธาตุขันธ์ประชุมกันอยู่ปัจจุบันชาติ ซึงตัวของเราคือธาตุรู้เข้ามาอาศัยอยู่เท่านั้น ร่างกายสังขารซึ่งนั่งอยู่นี้เป็นยานพาหนะหรือเครื่องมือของเรา หมายความว่าเครื่องมือหรือยานพาหนะของจิตเท่านั้น ในเมื่อจิตคือธาตุรู้ต้องการสิ่งหนึ่งประการใดแล้วจะต้องบังคับร่างกายซึ่งเป็นยานพาหนะคือเครื่องมือของเขาประกอบในสิ่งที่เขาต้องการเท่านั้น อันนี้เป็นสิ่งชั่วครู่เดียว ธาตุโลกเขาก็ต้องสลายไปตามกำลังของธาตุโลก แต่ตัวธาตุรู้คือจิตใจไม่ตายนะครับ ไม่สลาย จะต้องไปก่อภพตามกำลังของกรรมต่อไป ตัวธาตุรู้นั่นแหละครับคือตัวเรา แล้วพระพุทธเจ้ามาหาวิธีอุบายที่จะจับจะจับจิตนี้นะต้องให้เป็นสมาธิ พระองค์จึงคิดหาวิธีทำอุบายที่จะจับจิตของพระพุทธเจ้าก็อย่างที่ผมปรารภภวายในวันนั้นว่า อาศัยสตินะสิครับ สติตรับ เพราะจิตนี้มันเป็นธาตุรู้ สติคือเป็นความระลึกรู้ เรารู้อยู่ตรงไหนมีสติอยู่ตรงไหน จิตจะอยู่ตรงนั้นพร้อมกัน เหมือนตัวเราไปที่ไหนเงาเราก็ต้องไปที่นั่น เราไปตรงไหนเงาก็ไปตรงนั้น เงากับตัวเราต้องตามกันฉันใด สติกับจิตก็คืออันเดียวกัน เราระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เรารับรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก จิตของเราก็ต้องอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เมื่อเราเผดปู๊บ สติไม่ได้เกาะอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ไปต่ออารมณ์สัญญาภายนอก จิตก็ต้องไปต่ออารมณ์สัญญาภายนอกตามกับสติ เพราะเขามันคู่กัน เพราะฉะนั้นเราต้องจับจิตของเราด้วยสติ เอามารับรู้ที่ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก ทำไมถึงมาเอาลมหายใจเข้าออก นี่เป็นนิมิตเครื่องหมายพระพุทธเจ้าพระบรมครูผู้พระบิดาของพวกเราสำเร็จด้วยการ อานาปาแต่เราอย่าไปคิดว่าเรื่องจริตเป็นของสำคัญ เรื่องจริตเอาเถอะครับอย่าไปคิด บางคนว่าเรามีจริตอย่างโน้น มีจริตอย่างนี้ จะต้องไปถูกับกรรมฐานชนิดโน้นชนิดนี้ อันนี้เราเลิกคิดได้ครับเรื่องตำราปิดเสียก่อนครับ เรื่องตำราอย่ามาพูดถึงกัน อันนั้นเราอย่ามาพูด อันนั้นเป็นอีกคนละเรื่องคนละอย่าง เพราะฉะนั้นขอให้ถือว่าเรื่อง อานาปานัสสตินี่เป็นกรรมฐานแบบสาธารณะครับดีมากครับ ขอให้พยายามทำเถอะครับ อย่าไปคิดเรื่องจริต ให้กำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ามีบริกรรมมรรค ภาวนาว่าพุทธนะครับ หายใจออกมีคำบริกรรมว่าโธ จึงได้ความพุทโธ พุทโธ พุทโธ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกว่าโธ ถ้าไม่พุทไม่โธได้หรือ ได้ครับเหมือนกัน แต่ทำไมถึงพุทธถึงโธล่ะ เอาเถอะครับพระนามของพระพุทธเจ้า พุทโธ แปลว่าผู้รู้ ผู้เบิกบาน เป็นพระนามอันหนึ่งของพระพุทธเจ้าพ่อเรา เอาพระนามของพระพุทธเจ้ามาบริกรรมเป็นมงคลดีครับ เหมาะมากครับ ผมชอบที่สุดครับ ขอให้พวกเรานึกอย่างนั้นเถอะครับ เพราะฉะนั้นถือเอาคำว่า พุทโธ พุทโธ นี่มาเป็นคำบริกรรมมรรคภาวนา บางคนอาจจะบอกว่าเอ..มันขัดกับจริต เพราะจริตของผมอย่างโน้น อย่างนี้ ผมบอกแล้วไงครับว่าทิ้งเสียก่อนครับ ไอ้เรื่องตำราเรื่องจริตทิ้งไป อย่าเอามาพูดกัน เรามุ่งหน้ามุมานะจะเอาให้ได้อย่างเดียว อะไรไม่สน จริตจรติไม่เกี่ยวเรามุมานะจะเอาอย่างเดียว เพราะฉะนั้นให้เรากำหนดลมหายใจเข้า กำหนดลมหายใจอก มีบริกรรมมรรคภาวนาประกอบ หมายถึงเอาพุทกับโธไม่ออกเสียง นึกในใจ นึกพุทโธ พุทโธ มีสติจับจิตของเราให้รับรู้อยู่ที่ปลายจมูก แต่ไม่ใช่เพ่งนะครับ ไม่ใช่กดดันนะครับ ไม่ใช่เพ่งนะครับรับรู้เฉย ๆ รับรู้ลมหายใจเข้าออกเฉย ๆ กำหนดรู้อยู่นั่นแหละครับ แต่ลมหายใจเข้าออกอย่าไปแต่งนะครับ ปล่อยธรรมชาติ ปล่อยธรรมดา หายใจเข้าหายใจออกอย่าแต่งนะครับ หายใจเข้าหายใจออกปล่อยธรรมดา ๆ แล้วกำหนดรู้ พุทโธ พุทโธ เฉย ๆ อย่าไปเกร็งอย่าไปดัน อย่าไปเพ่ง อย่าไปกด อย่าไปสะกด รับรู้เฉย ๆ เราจะรู้ได้ถ้าเราไม่มีการเพ่งหรือสะกดตัวเอง มันจะสบายครับ โปร่งโล่งธรรมดา ๆ ถ้าเราทำผิดจะอึดอัดครับ รู้สึกหายใจไม่สะดวก คอแห้ง หรือน้ำลายไหลออกมา หรืออาจจะมึนงงศรีษะ อึดอัดในหัวใจอะไรเหล่านี้เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเรียกว่าวิปริต ความวิปริตทั้งหลายเกิดขึ้นนั่นคือว่าเราอาจจะเป็นตัวสะกดตัวเองเราก็ต้องกำหนดให้กำหนดเพียงแค่รับรู้เฉย ๆ จะไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้นเลยนะครับ อันนี้ถูกนะครับ ทีนี้เราก็นั่งกำหนดอยู่นั่นแหละครับ นั่งกำหนดพุทโธ พุทโธ จนสามารถบังคับความรู้สึกของเราให้รับรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกอยู่ที่ปลายจมูก ไม่มีโอกาสใดที่จิตของเราจะหนีหน้าสติ หรือสติพาจิตของเราไปต่ออารมณ์สัญญาภายนอกได้แล้วครับ อยู่ในจุดที่เราต้องการแจ๋ว ๆ อยู่ตลอดเวลานะครับ ทำได้อยู่ตลอดเวลาแจ๋วตลอดเวลานะครับ ถือว่าตปธรรม อำนาจที่สร้างขึ้นมาเหนือจิตแล้วนะครับ คุมให้อยู่กับความต้องการของเราได้แล้ว ถ้าคุมได้แล้วนะครับทดสอบทดลองได้หลายอย่างครับ เวลาเรานอนหรือจำวัดนะครับ นอนสีหะไสยาสห์ เอามือขวาสอดเข้าไปใต้แก้ม เอามือซ้ายวางราบไปตามตัว เอาเท้าเหยียดไปนะครับ อย่าให้ตึงนัก อย่าให้หย่อนนัก เท้าเหลื่อมเท่ากันพอดี ๆ กำหนดลมหายใจเข้าออกเช่นกัน พุทโธ พุทโธ นึกว่าไม่หลับนะครับคืนนี้ สติไม่ขาดครับ รับรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกแจ๋วอยู่ตลอดเวลา ตลอดคืนปรากฏว่าไม่หลัง แต่พอลุกขึ้นมาไม่งง มึนงงศรีษะนะครับ ไม่ซึมเซา เปรียบเหมือนเรานอนหลังทั้งคืนแหละครับ นั่นถูกต้อง ถูกต้องแน่ ๆ ครับ ต่อจากนั้นไปนะครับ ในเมื่อมันสมบูรณ์ดีแล้ว ทุกอย่างนะครับ เราไม่ต้องเอาไปใช้กับอันอื่นหรอกครับ ผีเทวดาเราก็ต้องรู้ครับ เพชรพลอยอยู่ตรงไหน ไม่ต้องไปมองนะครับ อะไร ๆ ก็แล้วต่อในทางที่เป็นอภิญญาณสมาบัติเราไม่สน เราไม่เอา เรามุ่งหวังที่จะเข้ามาปรับปรุงตัวของเราให้ปราศจากคำที่ว่าบาป ปราศจากกิริยาที่ไม่เหมาะสมของความเป็นลูกของพระตถาคตเจ้า เราต้องเอาจากส่วนนี้ทั้งหมดมาประกอบกับกายวาจา เราจะลุกขึ้นนั่งลง ต้องนึกถึงเพศวัย ฐานะของตัวเอง ลุกขึ้นแบบไหนถึงจะเหมาะเพศ เราเป็นสมณเพศ ลุกแบบไหนจะเหมาะสมกับวัยของเรา อยู่ในวัยเช่นไร ฐานเช่นไร การลุกขึ้นต้องเป็นปกติอย่างเดิม วันนี้เราลุกแบบนี้ แบบนั้นต้องอยู่ลักษณะนั้นอยู่เสมอไป ไม่มีลุกขึ้นโดยปราศจาสติสัมปชัญญะ ไม่มีการลุกขึ้นโดยการขาดการกลั่นกรอง ต้องพิจารณาแล้ว ต้องพิจารณาแล้วญัติเข้ากับคำว่าเหมาะสมกับเพศของพวกเราแล้วจึงได้ลุกขึ้น ทุกกิริยาอาการที่เคลื่อนไหว แม้แต่จะหยิบของว่างควรจะมองซ้าย จะแลขวา ไม่เป็นไปเพื่อความปราศจากสติ เหมือนเสียว่าสติจับแต่งเอาเสียหมดทุกกิริยาอาการเสียเลย เป็นอย่างนั้นนะครับ ต่อจากนั้นวาจาที่เปล่งออกมาเราก็ต้องนึกถึงเพศ วัย ฐานะ และความเป็นสมณะ นึกถึงศีลธรรม คำที่พูดการแสดงออกเป็นไปเพื่อความกระทบกระเทือนก่อความเศร้าหมองให้กับผู้อื่นหรือไม่ เราต้องทบทวนกลั่นกรองพิจารณาเสียก่อนนะครับ ให้เรียบร้อยอย่าให้เป็นไปด้วยการปราศจากสติสัมปชัญญะ ปราศจากคุณธรรมที่สร้างขึ้นมาก ต้องอาศัยเครื่องเหล่านี้เป็นเหมือนหม้อกรองกลั่นแล้วนะครับแล้วถึงค่อยปล่อย กริยาก็ดี กายหรือวาจาก็ดีในเมื่อเราปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว  ความรู้สึกทางด้านจิต เราไปประสพสิ่งที่น่ารัก น่าใคร่ ประสพถึงสิ่งที่น่าเกลียด โกรธทั้งปวง กิริยาเกิดขึ้นมาแล้วต้องหักห้าม อันนี้ไม่ควร อันนี้ไม่ถูก พระพุทธเจ้าพ่อของเรามีจิตใจเหมือนคนอื่นไม่มีคำว่ารัก ชัง เอนเอียงไปในทางรัก ถือว่าเป็นกามสุขันธุ์นุโยค เอนเอียงไปในทางชัง เรียกว่าอัตถะสุขานุโยค มัฌฌิมาปฏิปทาธรรมนั้น หมายถึงใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงทั้งสองข้าง อาการที่แสดงขึ้นทั้งหมดเราจะมองเห็นว่า เขาเป็นบุคคลที่อ่อนว่ากิเลส กิเลสเหนือกว่าเขา จึงสามารถจับทุกกิริยาอาการของเราให้แสดงอาการอย่างนั้นต่อเรา เขาเป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่ใต้กิเลส เราเหนือกว่ากิเลสเราก็ไม่ควรที่จะต้องไปโกรธเกลียดกับบุคคผู้ที่ยังอ่อนอยู่ หมายความว่าแก่ก็ชั่งเถอะ แต่ยังอ่อนด้วยธรรมะ เปรียบเหมือนเด็กอ่อนที่แอบอยู่ที่ตักเรา เขาจะเหยี่ยวรดขี้รด ก็ถือว่าเขาไม่รู้เดียงสา เขาไม่รู้เดียงสา เขาทำไปไม่รู้เดียงสาแล้วจะไปโกรธกับตัวเขาหาว่าเขาขี้ราดไม่ได้ เพราะเด็กมันยังอ่อน แล้วเด็กมันเตะเราก็ดี ตบเราก็ดี เด็กอ่อนไม่รู้เดียงสา เราจะถือว่าเอ๊ะมึงตบปากกู้นี่จับโยนเสียเลย ไม่ได้เพราะเด็กไม่รู้เดียงสา แต่แก่จนหลังค่อมก็ตาม ถือว่าเด็กอ่อนในธรรมะ หมายความว่าอ่อนในธรรมะ กิเลสบังคับให้เขาแสดงต่อเราไปในทางที่มีกิเลสบัญชา เราก็อภัยเหมือนกับเด็กอ่อนที่อยู่ในตักเราอย่างนี้แหละครับ เราก็หาอุบายวิธีที่กว้าง ๆ หาวิธีเอาไว้แก้ไขกันอย่างนี้แหละครับ ทางด้านกาย ทางด้านวาจา ทางด้านใจ ด้วยนะครับให้เป็นอย่างนี้เสมอ ๆ ผลที่สุดอำนาจแห่งกิเลสที่จะบัญชาขึ้นมานั้น จะไม่มีโอกาสมาบัญชาเราได้เลย ระบบกิเลสไม่ต้องคุยกันละครับ ถ้าเราทำได้อย่างนี้นะครับ เราไม่ต้องพูดอะไรมากครับ คำที่ว่าสัมมาสมาธิ สมาธิที่สมบูรณ์ที่ต้องควรนั้นไม่ต้องไปพูดถึง และด้านสมาธินี้เรื่องฤทธิ์เดช เรื่องการรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ไม่ต้องมาพูดถึงครับ สมาธิเช่นนั้นเกิดมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดเสียด้วยครับ เกิดมาก่อน อันนั้นไม่เห็นหน้าจะจำเป็นอะไรสำหรับพวกเรา พวกเราจำเป็นจะต้องดำเนินในทางที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เรียกว่า โลกุตระ สายของโลกุตระครับ เพราะฉะนั้นขอให้พวกเราผู้ปฏิบัติทั้งหลายจงพยายามศึกษา แล้วก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติกันขอให้ตั้งใจกัน ตลอดพระใหม่เณรใหม่ ก็อย่าเสียอกเสียใจว่าผมไม่ได้คลุกคลีตีโมง ไม่ได้พูดไม่ได้คุย ไม่ได้ให้ความอบอุ่นเท่าที่ควร  อันนี้อย่าเสียใจครับ  เพราะภาระหน้าที่ของแต่ละท่านมีมาก ไม่จำเป็นอะไรที่เราจะต้องมาป้อยอกัน เพราะไม่ใช่เด็กอ่อน เป็นผู้มีอายุกาลผ่านมาแล้วขนาดนี้ ไม่ใช่เด็กครับ ผมเองถูกพระนวกต่อว่าอยู่ชุดหนึ่งว่าผมบวชอยู่นะที่นี้ไม่ได้รับความอบอุ่น ครูบาอาจารย์ไม่ให้ความอบอุ่นกับผม หมู่คณะไม่ให้ความอบอุ่นกับผม หมู่คณะไม่ได้อุปการะหรือเกี่ยวข้องให้ผมได้รับความสะดวกสบายเลย ประนามใหญ่โตครับ ผมก็บอกว่าเราเป็นสมณะไม่มีโอกาสที่จะมาคลุกคลีกันแล้ว เพราะพระพุทธเจ้าพ่อของเราไม่สอน พ่อของเราสอนให้บำเพ็ญ พ่อของเราสอนให้เข้าไปอยู่ในที่สงัดสงบ ไม่ให้คลุกคลีซึ่งกันและกัน และโอกาสที่เราจะมาวุ่นวายอย่างนั้นไม่มีแล้ว คุณอย่าเข้าใจผิดซี่ เขาก็ไม่เชื่อไม่ฟัง เขาว่าเขาไม่ได้รับต่อว่าต่อขาน ผมก็ยอมรับครับ ว่าผมไม่ได้ให้ความอบอุ่นอย่างนั้นเท่าที่ควร แต่ผมก็ให้ความอบอุ่นที่สุด คือให้ธรรมะ ผมมีเมตตาอารีจิตของผมนี่ เผื่อแผ่ต่อหมู่คณะทุกท่านไม่ว่าพระใหม่ พระเก่า ไม่ว่าแม่ขาวแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมโดยทั่วถึงกัน ผมจะต้องมีความเมตตาอารี ส่งเสริมอยู่เสมอในทางนี้ ตลอดธรรมะปฏิบัติผมก็สอน แต่จะให้ผมสอนทุกวี่ ทุกวันนั้นไม่ได้ครับ มันไม่จำเป็นนี่ครับ ศึกษาเพื่อปฏิบัติศึกษานิดเดียวก็เข้าใจแล้ว ถ้าเราเรียนเพื่อคุยนะครับ อ๋อ..อันนั้นจำเป็น จะต้องอะไรอย่างนี้เขาต้องสอนอะไรต่ออะไรอย่างนี้เขาต้องสอนเพื่อจริงจังเหมือนกับทางด้านปริยัติที่เขาสอนกันอยู่ เราจะดูได้ เช่นอย่างเขาสอนกันทางด้านอภิธรรมนี้ ไปดูซิครับ เขาสอนกันเพื่อจะให้พูดเก่ง เพื่อจะให้คุยเก่ง คุยจูงใจ คุยอะไร แต่แล้วทั้งหมดคุณธรรมไม่มีในตัวของตัวเองนะครับ เหมือนนกสาริกาพูดภาษามนุษย์ได้ชัดแหละครับ หัวเราะเสียโอ้โหหัวเราะเหมือนกันสนุกสาน แต่แท้จริงนะครับมันไม่ได้เข้าใจนะครับ มันทำนั่นมันหมายความว่าอย่างไร จามก็เป็นนะครับ ไอก็เป็นนะครับ นกสาริกามันทำของมันเข้าท่า แต่มันรู้หรือเปล่าว่าจามมันเป็นอย่างไร ไอมันเป็นอย่างไร คนเขาจาม เขาไอ ทำไมเขาถึงไอ ถึงจาม มันไม่เข้าใจหรอกครับ มันได้ยินมันก็ว่าไปตามเสียงเฉย ๆ
ฉันผู้ใดที่ศึกษาเพื่อคุยเพื่อพูดก็พอ ๆ กับนกสาริกาพูดภาษามนุษย์ ไม่ได้ซึ่งในธรรมะ ไม่ได้เข้าใจในธรรมะหรอกครับ พูดกันลอย ๆ โดยจำขี้ปากเขามาพูดเฉย ๆ ครับ รู้โดยสัญญาไม่ได้รู้ด้วยปัญญา ถ้าเราทำสมาธิกัน ที่ผมกล่าวมานี้นะครับ สามารถครอบคลุมจิตของตัวเองได้ดังกล่าว ปรับปรุงการเคลื่อนไหวของกายวาจาพร้อมทั้งจิตใจดังกล่าวนะครับ ความสุขอันเรียกว่าบรมสุข จะปรากฏขึ้นมา ความเข้าใจในสภาวะธรรมความเป็นจริงของโลกถูกต้อง เกิดนิธิภานิรานะคะ ต่อความเกิด เบื่อหน่ายท้อแท้ ขยะแขยง ไม่อยากเกิดต่อไปแล้วครับ เพราะเกิดมานั่งรอวันตาย

  ศาลาการเปรียญวัดเขาสุกิม
๒๗ กรกฎาคม  ๒๕๒๒

เรื่อง อุบายวิธีจับจิต

พระธรรมเทศนา

เรื่อง  อุบายวิธีจับจิต


        ทีนี้ส่วนการบำเพ็ญของพวกเรา ก็คงจะเข้าใจกันพอสมควรเพราะว่าแนะนำเสี่ยมสอนกันอยู่เสมอ แต่สำหรับการได้ยินได้ฟังมานั้น มันก็อาจจะแตกต่างกันบ้างหลายครูหลายอาจารย์ หลายแบบหลายอย่าง เพราะนโยบายการบำเพ็ญนั้นรู้สึกว่าจะแตกต่างกันบ้าง เพราะการทำสมาธิจิตนี้ไม่ใช่ทำกันมาตอนพระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูพุทธะแล้วมีการบำเพ็ญสมาธิจิตกันมาจากนั้นก็หาไม่ เพราะด้านสมาธิสมาบัตินี้รู้สึกว่าจะมีมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดเสียด้วยซ้ำไป อันนี้พวกเราคงเข้าใจดี แม้แต่พระพุทธเจ้าของเรายุคสมัยก่อนการศึกษาศิลปะวิชาการต่าง ๆ เท่าที่พวกเราได้ทราบก็รู้สึกว่าจะศึกษาจากบรรดาครูอาจารย์ที่เอียงมาทางด้านศาสนา ส่วนมากมักจะเป็นอย่างนั้น ยุคหลังจนกระทั่งสิทธัทถะกุมาร เบื่อความเป็นอยู่ในโลก และเหตุการณ์ของโลกที่แสดงอยู่พร้อมทั้งข้าศึกที่แสดงอยู่ พร้อมทั้งหมู่ญาติทั้งสองจะเกิดการรบราฆ่าฟันกัน สารพัดนานับประการท่านก็มีความเบื่อเป็นกำลัง จึงเป็นเหตุให้ท่านทรงออกผนวชบวชแล้วแสวงหาโมกข์ธรรม ท่านก็ไปตามครูอาจารย์ที่ท่านเคยศึกษามาก่อนเหมือนกัน ไปตามครูอาจารย์ที่ท่านเคยศึกษามาก่อน แต่บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้นที่ท่านเฟ้นหาก็ล้วนแต่เป็นครูอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในระหว่าง ๖ ปี ๖ พรรษา นั้นก็รู้สึกว่าท่านพยายามศึกษาลัทธิไตรเพทต่าง ๆ จนสำเร็จ แต่ละไตรเพทแต่ละลัทธิ แต่ละเจ้าลัทธิก็สมมุติให้ท่านเป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น แต่ตัวของพระองค์เองไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระอรหันต์เพราะพระองค์รู้พระองค์ได้ดี ว่าไม่หมดจากกิเลส กิเลสยังมีอยู่จึงเป็นเหตุให้พระองค์ไม่นิ่งนอนใจจึงแสวงหาต่อไปจากครูอื่นอาจารย์อื่นล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งนั้น พอท่านจบไตรเพทครูอาจารย์นั้นก็ให้ท่านเป็นพระอรหันต์อีกเช่นกัน แต่ตัวของพระองค์เองก็ไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระอรหันต์ ก็ต้องหาครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่ชาวโลกเขาเชื่อถือว่าเป็นอริยะบุคคลชั้นสูงต่อไป เฟ้นหาอยู่ ๖ ปี ล้วนแต่อาจารย์ที่ดัง ๆ ทั้ง ๖ ปี แต่ก็ไม่ได้เป็นไป เพื่อความสำเร็จเป็นสยัมภู ต่อมาเมื่อพระองค์ได้ออกปฏิบัติโดยลำพังดำเนินตามปฏิปทาที่พระองค์เข้าใจว่า อันนี้คืออุบายวิธีทรมานต่าง ๆ เป็นการทรมานกายเช่นการตากแดด ย่างไฟ หรือชำระกิเลสด้วยไฟ นอนฝากนอนหนามกินขี้วัวขี้ควาย อาจจะฝังตัวให้ดินมันดูดกิเลสสารพัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไปทั้งหมด ไม่ใช่อุบายวิธีที่จะกำจัดกิเลสได้ ส่วนกิเลสพระองค์เข้าใจว่าอยู่ที่จิตใจ เรื่องภพชาติอยู่ที่จิตใจ เรื่องกิเลสอยู่ที่จิตใจ ความรู้สึกของจิตใจมีรูปลักษณะเป็นกิเลสเป็นอย่างไรพระองค์รู้ รู้แล้วว่าความรู้ของจิตคือตัวธาตุรู้ มันรู้ยังไงเรียกว่ากิเลส ธาตุรู้คือจิตที่รู้ มันรู้ยังไงเรียกว่าธาตุรู้ พระองค์มาเข้าใจอันนี้จึงได้หวนมาหาปฏิปทาข้อปฏิบัติอย่างที่ปรารภสู่ฟังในวันนั้นว่า พระองค์จับจิตของพระองค์ยังไง อย่างที่เล่าถวายไปแล้วนั้นว่า จิตใจไม่ใช่วัตถุ ถ้าเป็นวัตถุเราสามารถหยิบด้วยมือของเราเอามาวางได้ เช่นถ้วยเป็นวัตถุอันหนึ่ง มือมันก็คือวัตถุอันหนึ่ง ก็สามารถหยิบมาวางได้
        แต่สำหรับจิตใจไม่ใช่วัตถุ จิตใจเป็นเพียงแค่ธาตุรู้ อย่างที่เรารู้แหละครับ เรารู้ดีชั่ว ชอบไม่ชอบ โกรธเคือง ชอบ รัก อะไรต่าง ๆ ซึ่งมีความรู้ ความรู้นั่นแหละครับจิตเป็นตัวผู้รู้ ธาตุรู้ตัวนั้นแหละครับ ธาตุรู้ตัวนั่นแหละครับคือตัวของเราแท้ สังขารที่นั่งเติ่งเมิ่งดูกันอยู่นี่ ไม่ใช่ตัวของเรานะครับ อย่าไปเข้าใจว่าตัวของเรานะครับ อันนี้เป็นเพียงแค่ธาตุขันธ์ประชุมกันอยู่ปัจจุบันชาติ ซึ่งตัวของเราคือธาตุรู้เข้ามาอาศัยอยู่เท่านั้น ร่างกายสังขารซึ่งนั่งอยู่นี้เป็นยานพาหนะหรือเครื่องมือของเรา หมายความว่าเครื่องมือหรือยานพาหนะของจิตเท่านั้นในเมื่อจิตคือธาตุรู้ต้องการสิ่งหนึ่งประการใดแล้วจะต้องบังคับร่างกายซึ่งเป็นยานพาหนะคือเครื่องมือของเขาประกอบในสิ่งที่เขาต้องการเท่านั้น อันนี้เป็นสิ่งชั่วครู่เดียว ธาตุโลกเขาก็ต้องสลายไปตามกำลังของธาตุโลก แต่ตัวธาตุรู้คือจิตใจไม่ตายนะครับ ไม่สลาย จะต้องไปก่อภพตามกำลังของกรรมต่อไปตัวธาตุรู้นั่นแหละครับคือตัวเราแล้วพระพุทธเจ้ามาหาวิธีอุบายที่จะจับจิตนี้นะต้องให้เป็นสมาธิ พระองค์จึงคิดหาวิธีทำอุบายที่จะจับจิตของพระพุทธเจ้าก็อย่างที่ผมปรารภถวายในวันนั้นว่า อาศัยสตินะสิครับ สติครับ เพราะจิตนี้มันเป็นธาตุรู้ สติคือเป็นความระลึกรู้ เรารู้อยู่ตรงไหนมีสติอยู่ตรงไหน จิตจะอยู่ตรงนั้นพร้อมกัน เหมือนตัวเราไปที่ไหนเงาเราก็ต้องไปที่นั่น เราไปตรงไหนเงาก็ไปตรงนั้น เงากับตัวเราต้องตามกันฉันใด สติกับจิตก็คืออันเดียวกัน เราระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เรารับรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก จิตของเราก็ต้องอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เมื่อเราเผลอปุ๊บ สติไม่ได้เกาะอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ไปต่ออารมณ์สัญญาภายนอก จิตก็ต้องไปต่ออารมณ์สัญญาภายนอกตามกับสติ เพราะเขามันคู่กัน เพราะฉะนั้นเราต้องจับจิตของเราด้วยสติ เอามารับรู้ที่ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก ทำไมถึงมาเอาลมหายใจเข้าออก นี่เป็นนิมิตเครื่องหมายพระพุทธเจ้าพระบรมครูผู้พระบิดาของพวกเราสำเร็จด้วยการ “อานาปา” แต่เราอย่าไปคิดว่าเรื่องจริตเป็นของสำคัญ เรื่องจริตเอาเถอะครับอย่าไปคิด บางคนว่าเรามีจริตอย่างโน้น มีจริตอย่างนี้ จะต้องไปถูกกับกรรมฐานชนิดโน้นชนิดนี้ อันนี้เราเลิกคิดได้ครับเรื่องตำราปิดเสียก่อนครับ เรื่องตำราอย่ามาพูดถึงกัน อันนั้นเราอย่ามาพูด อันนั้นเป็นอีกคนละเรื่องคนละอย่าง เพราะฉะนั้นขอให้ถือว่าเรื่อง “อานาปานัสสติ” นี่เป็นกรรมฐานแบบสาธารณะครับดีมากครับ ขอให้พยายามทำเถอะครับ อย่าไปคิดเรื่องจริต ให้กำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ามีบริกรรมมรรคภาวนาว่าพุทธนะครับ หายใจออกมีคำบริกรรมว่า โธ จึงได้ความพุทโธพุทโธพุทโธ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกว่าโธ ถ้าไม่พุทไม่โธไม่ได้หรือ ได้ครับเหมือนกัน แต่ทำไมถึงพุทธถึงโธล่ะ เอาเถอะครับพระนามของพระพุทธเจ้า พุทโธ แปลว่าผู้รู้ ผู้เบิกบาน เป็นพระนามอันหนึ่งของพระพุทธเจ้าพ่อเรา เอาพระนามของพระพุทธเจ้ามาบริกรรมเป็นมงคลดีครับเหมาะมากครับผมชอบที่สุดครับขอให้พวกเรานึกอย่างนั้นเถอะครับ เพราะฉะนั้นถือเอาคำว่าพุทโธพุทโธ นี่มาเป็นคำบริกรรมมรรคภาวนา บางคนอาจจะบอกว่าเอ..มันขัดกับจริต เพราะจริตของผมอย่างโน้น อย่างนี้  ผมบอกแล้วไงครับว่าทิ้งเสียก่อนครับ ไอ้เรื่องตำราเรื่องจริตทิ้งไป อย่าเอามาพูดกัน เรามุ่งหน้ามุมานะจะเอาให้ได้อย่างเดียว อะไรไม่สน จริตไม่เกี่ยวเรามุมานะจะเอาอย่างเดียว เพราะฉะนั้นให้เรากำหนดลมหายใจเข้า กำหนดลมหายใจอก มีบริกรรมมรรคภาวนาประกอบ หมายถึงเอาพุทกับโธ ไม่ออกเสียง นึกในใจ นึกพุทโธพุทโธ มีสติจับจิตของเราให้รับรู้อยู่ที่ปลายจมูก แต่ไม่ใช่เพ่งนะครับ ไม่ใช่กดดันนะครับ ไม่ใช่เพ่งนะครับรับรู้เฉย ๆ รับรู้ลมหายใจเข้าออกเฉย ๆ กำหนดรู้อยู่นั่นแหละครับ แต่ลมหายใจเข้าออกอย่าไปแต่งนะครับ ปล่อยธรรมชาติ ปล่อยธรรมดา หายใจเข้าหายใจออกอย่าแต่งนะครับ หายใจเข้าหายใจออกปล่อยธรรมดา ๆ แล้วกำหนดรู้ พุทโธพุทโธ เฉย ๆ อย่าไปเกร็งอย่าไปดัน อย่าไปเพ่ง อย่าไปกด อย่าไปสะกด รับรู้เฉย ๆ เราจะรู้ได้ถ้าเราไม่มีการเพ่งหรือสะกดตัวเอง มันจะสบายครับ โปร่งโล่งธรรมดา ๆ ถ้าเราทำผิดจะอึดอัดครับ รู้สึกหายใจไม่สะดวก คอแห้ง หรือน้ำลายไหลออกมา หรืออาจจะมึนงงศรีษะ อึดอัดในหัวใจอะไรเหล่านี้เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเรียกว่าวิปริต ความวิปริตทั้งหลายเกิดขึ้นนั่นคือว่าเราอาจจะสะกดตัวเองเราก็ต้องกำหนดให้กำหนดเพียงแค่รับรู้เฉย ๆ จะไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้นเลยนะครับ อันนี้ถูกนะครับ ทีนี้เราก็นั่งกำหนดอยู่นั่นแหละครับ นั่งกำหนดพุทโธพุทโธ จนสามารถบังคับความรู้สึกของเราให้รับรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกอยู่ที่ปลายจมูก ไม่มีโอกาสใดที่จิตของเราจะหนีหน้าสติ หรือสติพาจิตของเราไปต่ออารมณ์สัญญาภายนอกได้แล้วครับ อยู่ในจุดที่เราต้องการแจ๋ว ๆ อยู่ตลอดเวลานะครับ ทำได้อยู่ตลอดเวลาแจ๋วตลอดเวลานะครับ ถือว่าตปธรรม อำนาจที่สร้างขึ้นมาเหนือจิตแล้วนะครับ คุมให้อยู่กับความต้องการของเราได้แล้ว ถ้าคุมได้แล้วนะครับทดสอบทดลองได้หลายอย่างครับ เวลาเรานอนหรือจำวัดนะครับ นอนสีหะไสยาสห์ เอามือขวาสอดเข้าไปใต้แก้ม เอามือซ้ายวางราบไปตามตัว เอาเท้าเหยียดไปนะครับ อย่าให้ตึงนัก อย่าให้หย่อนนัก เท้าเหลื่อมเท่ากันพอดี ๆ กำหนดลมหายใจเข้าออกเช่นกัน พุทโธพุทโธ นึกว่าไม่หลับนะครับคืนนี้ สติไม่ขาดครับ รับรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกแจ๋วอยู่ตลอดเวลา ตลอดคืนปรากฏว่าไม่หลับ แต่พอลุกขึ้นมาไม่มึนงงศีรษะนะครับ ไม่ซึมเซา เปรียบเหมือนเรานอนหลับทั้งคืนแหละครับ นั่นถูกต้อง ถูกต้องแน่ ๆ ครับ ต่อจากนั้นไปนะครับ ในเมื่อมันสมบูรณ์ดีแล้ว ทุกอย่างนะครับ เราไม่ต้องเอาไปใช้กับอันอื่นหรอกครับ ผีเทวดาเราก็ต้องรู้ครับ เพชรพลอยอยู่ตรงไหน ไม่ต้องไปมองนะครับ อะไร ๆ ก็แล้วแต่ในทางที่เป็นอภิญญาณสมาบัติเราไม่สน เราไม่เอา เรามุ่งหวังที่จะเข้ามาปรับปรุงตัวของเราให้ปราศจากคำที่ว่าบาป ปราศจากกิริยาที่ไม่เหมาะสมของความเป็นลูกพระตถาคตเจ้า เราต้องเอาจากส่วนนี้ทั้งหมดมาประกอบกับกายวาจา เราจะลุกขึ้นนั่งลง ต้องนึกถึงเพศวัย ฐานะของตัวเอง ลุกขึ้นแบบไหนถึงจะเหมาะ  เพศเราเป็นสมณะเพศ ลุกแบบไหนจะเหมาะสมกับวัยของเรา อยู่ในวัยเช่นไร ฐานเช่นไร การลุกขึ้นต้องเป็นปกติอย่างเดิม วันนี้เราลุกแบบนี้ แบบนั้นต้องอยู่ลักษณะนั้นอยู่เสมอไป ไม่มีลุกขึ้นโดยปราศจาสติสัมปชัญญะ ไม่มีการลุกขึ้นโดยการขาดการกลั่นกรอง ต้องพิจารณาแล้ว ต้องพิจารณาแล้วญัติเข้ากับคำว่าเหมาะสมกับเพศของพวกเราแล้วจึงได้ลุกขึ้น ทุกกิริยาอาการที่เคลื่อนไหว แม้แต่จะหยิบของวางของ  ควรจะมองซ้ายจะแลขวา ไม่เป็นไปเพื่อความปราศจากสติ เหมือนว่าสติจับแต่งเอาเสียหมดทุกกิริยาอาการเสียเลย เป็นอย่างนั้นนะครับ ต่อจากนั้นวาจาที่เปล่งออกมาเราก็ต้องนึกถึงเพศ วัย ฐานะ และความเป็นสมณะ นึกถึงศีลธรรม คำที่พูดการแสดงออกเป็นไปเพื่อความกระทบกระเทือนก่อความเศร้าหมองให้กับผู้อื่นหรือไม่ เราต้องทบทวนกลั่นกรองพิจารณาเสียก่อนนะครับ ให้เรียบร้อยอย่าให้เป็นไปด้วยการปราศจากสติสัมปชัญญะ ปราศจากคุณธรรมที่สร้างขึ้นมาก ต้องอาศัยเครื่องเหล่านี้เป็นเหมือนหม้อกรองกลั่นแล้วนะครับแล้วถึงค่อยปล่อย กริยาก็ดี กายหรือวาจาก็ดีในเมื่อเราปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว ความรู้สึกทางด้านจิต เราไปประสบสิ่งที่น่ารัก น่าใคร่ ประสบถึงสิ่งที่น่าเกลียด โกรธทั้งปวง กิริยาเกิดขึ้นมาแล้วต้องหักห้าม อันนี้ไม่ควร อันนี้ไม่ถูก พระพุทธเจ้าพ่อของเรามีจิตใจเหมือนคนอื่นไม่มีคำว่ารัก ชัง เอนเอียงไปในทางรัก ถือว่าเป็นกามสุขัลลิกานุโยค วัดเขาสุกิม เอนเอียงไปในทางชัง เรียกว่าอัตตกิลมถานุโยค มัชฌิมาปฏิปทาธรรมนั้น หมายถึงใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงทั้งสองข้าง อาการที่แสดงขึ้นทั้งหมดเราจะมองเห็นว่า เขาเป็นบุคคลที่อ่อนกว่ากิเลส กิเลสเหนือกว่าเขา จึงสามารถจับทุกกิริยาอาการของเราให้แสดงอาการอย่างนั้นต่อเรา เขาเป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่ใต้กิเลส เราเหนือกว่ากิเลสเราก็ไม่ควรที่จะต้องไปโกรธเกลียดกับบุคคลผู้ที่ยังอ่อนอยู่ หมายความว่าแก่ก็ชั่งเถอะ แต่ยังอ่อนด้วยธรรมะ เปรียบเหมือนเด็กอ่อนที่นอนอยู่ที่ตักเรา เขาจะเหยี่ยวรดขี้รด ก็ถือว่าเขาไม่รู้เดียงสา เขาไม่รู้เดียงสา เขาทำไปไม่รู้เดียงสาแล้วจะไปโกรธกับตัวเขาหาว่าเขาขี้ราดไม่ได้ เพราะเด็กมันยังอ่อน แล้วเด็กมันเตะเราก็ดี ตบเราก็ดี เด็กอ่อนไม่รู้เดียงสา เราจะถือว่าเอ๊ะมึงตบปากกู้นี่จับโยนเสียเลย ไม่ได้เพราะเด็กไม่รู้เดียงสา แต่แก่จนหลังค่อมก็ตาม ถือว่ายังเป็นเด็กอ่อนในธรรมะ หมายความว่าอ่อนในธรรมะ กิเลสบังคับให้เขาแสดงต่อเราไปในทางที่มีกิเลสบัญชา เราก็อภัยเหมือนกับเด็กอ่อนที่อยู่ในตักเราอย่างนี้แหละครับ เราก็หาอุบายวิธีที่กว้าง ๆ หาวิธีเอาไว้แก้ไขกันอย่างนี้แหละครับ ทางด้านกาย ทางด้านวาจา ทางด้านใจ ด้วยนะครับให้เป็นอย่างนี้เสมอ ๆ ผลที่สุดอำนาจแห่งกิเลสที่จะบัญชาขึ้นมานั้น จะไม่มีโอกาสมาบัญชาเราได้เลย ระบบกิเลสไม่ต้องคุยกันละครับ ถ้าเราทำได้อย่างนี้นะครับ เราไม่ต้องพูดอะไรมากครับ คำที่ว่าสัมมาสมาธิ สมาธิที่สมบูรณ์ที่ต้องการนั้นไม่ต้องไปพูดถึง และด้านสมาธินี้เรื่องฤทธิ์เดชเรื่องการรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ไม่ต้องมาพูดถึงครับ สมาธิเช่นนั้นเกิดมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดเสียด้วยครับ เกิดมาก่อน อันนั้นไม่เห็นหน้าจะจำเป็นอะไรสำหรับพวกเรา พวกเราจำเป็นจะต้องดำเนินในทางที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เรียกว่า โลกุตระ สายของโลกุตระครับ เพราะฉะนั้นขอให้พวกเราผู้ปฏิบัติทั้งหลายจงพยายามศึกษา แล้วก็ตั้งใจประพฤติปฏิบัติกันขอให้ตั้งใจกัน ตลอดพระใหม่เณรใหม่ ก็อย่าเสียอกเสียใจว่าผมไม่ได้คลุกคลีตีโมงไม่ได้พูดไม่ได้คุย ไม่ได้ให้ความอบอุ่นเท่าที่ควร อันนี้อย่าเสียใจครับเพราะภาระหน้าที่ของแต่ละท่านมีมาก ไม่จำเป็นอะไรที่เราจะต้องมาป้อยอกัน เพราะไม่ใช่เด็กอ่อน เป็นผู้มีอายุกาลผ่านมาแล้วขนาดนี้ ไม่ใช่เด็กครับ ผมเองถูกพระนวกต่อว่าอยู่ชุดหนึ่งว่าผมบวชอยู่ ณ ที่นี้ไม่ได้รับความอบอุ่น ครูบาอาจารย์ไม่ให้ความอบอุ่นกับผม หมู่คณะไม่ให้ความอบอุ่นกับผม หมู่คณะไม่ได้อุปการะหรือเกี่ยวข้องให้ผมได้รับความสะดวกสบายเลย ประนามใหญ่โตครับ ผมก็บอกว่าเราเป็นสมณะไม่มีโอกาสที่จะมาคลุกคลีกันแล้ว เพราะพระพุทธเจ้าพ่อของเราไม่สอน พ่อของเราสอนให้บำเพ็ญ พ่อของเราสอนให้เข้าไปอยู่ในที่สงัดสงบ ไม่ให้คลุกคลีซึ่งกันและกัน และโอกาสที่เราจะมาวุ่นวายอย่างนั้นไม่มีแล้ว คุณอย่าเข้าใจผิดซี่  เขาก็ไม่เชื่อไม่ฟัง เขาว่าเขาไม่ได้รับความอบอุ่นต่อว่าต่อขาน ผมก็ยอมรับครับว่าผมไม่ได้ให้ความอบอุ่นอย่างนั้นเท่าที่ควร แต่ผมก็ให้ความอบอุ่นที่สุด คือให้ธรรมะผมมีเมตตาอารีจิตของผมนี่ เผื่อแผ่ต่อหมู่คณะทุกท่านไม่ว่าพระใหม่ พระเก่า ไม่ว่าแม่ขาวแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมโดยทั่วถึงกัน ผมจะต้องมีความเมตตาอารี ส่งเสริมอยู่เสมอในทางนี้ ตลอดธรรมะปฏิบัติผมก็สอน แต่จะให้ผมสอนทุกวี่ ทุกวันนั้นไม่ได้ครับ มันไม่จำเป็นนี่ครับ ศึกษาเพื่อปฏิบัติศึกษานิดเดียวก็เข้าใจแล้ว ถ้าเราเรียนเพื่อคุยนะครับ อ๋อ..อันนั้นจำเป็น จะต้องอะไรอย่างนี้เขาต้องสอนอะไรต่ออะไรอย่างนี้เขาต้องสอนเพื่อจริงจังเหมือนกับทางด้านปริยัติที่เขาสอนกันอยู่ เราจะดูได้ เช่นอย่างเขาสอนกันทางด้านอภิธรรมนี้ ไปดูซิครับ เขาสอนกันเพื่อจะให้พูดเก่ง เพื่อจะให้คุยเก่ง คุยจูงใจ คุยอะไร แต่แล้วทั้งหมดคุณธรรมไม่มีในตัวของตัวเองนะครับ เหมือนนกสาริกาพูดภาษามนุษย์ได้ชัดแหละครับ หัวเราะเสียโอ้โฮหัวเราะเหมือนกับสนุกสนาน แต่แท้จริงนะครับมันไม่ได้เข้าใจนะครับ มันทำนั่นมันหมายความว่าอย่างไร จามก็เป็นนะครับ ไอก็เป็นนะครับ นกสาริกามันทำของมันเข้าท่า แต่มันรู้หรือเปล่าว่าจามมันเป็นอย่างไร ไอมันเป็นอย่างไร คนเขาจาม เขาไอ ทำไมเขาถึงไอ ถึงจาม มันไม่เข้าใจหรอกครับ มันได้ยินมันก็ว่าไปตามเสียงเฉย ๆ
        ฉันผู้ใดที่ศึกษาเพื่อคุยเพื่อพูดก็พอ ๆ กับนกสาลิกาพูดภาษามนุษย์ ไม่ได้ซึ้งในธรรมะ ไม่ได้เข้าใจในธรรมะหรอกครับ พูดกันลอยๆ โดยจำขี้ปากเขามาพูดเฉย ๆ ครับ รู้โดยสัญญาไม่ได้รู้ด้วยปัญญา ถ้าเราทำสมาธิกัน ที่ผมกล่าวมานี้นะครับ สามารถครอบคลุมจิตของตัวเองได้ดังกล่าว ปรับปรุงการเคลื่อนไหวของกายวาจาพร้อมทั้งจิตใจดังกล่าวนะครับ ความสุขอันเรียกว่าบรมสุข จะปรากฏขึ้นมา ความเข้าใจในสภาวธรรมความเป็นจริงของโลกถูกต้อง เกิดนิพพิทาวิราคะ ต่อความเกิด เบื่อหน่ายท้อแท้ ขยะแขยง ไม่อยากเกิดต่อไปแล้วครับ เพราะเกิดมานั่งรอวันตาย  เอาละ วันนี้ ก็ขอยุติเพียงแค่นี้


พิมพ์คัดจากหนังสือฐิตวิริยาจารย์เทศนา  รวมธรรมคำสอน ของ พระวิสุทธิญาณเถร
หลวงปู่สมชาย  ฐิตวิริโย
วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
เล่ม ๑(หน้าที่ ๑๓๓ – ๑๓๘)
วัตถุประสงค์ : พิมพ์ถวายเป็นธรรมทาน เพื่อมอบเป็นที่ระลึก แด่ผู้ร่วมสร้างเจดีย์ วัดเขาสุกิม
สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ